Quantcast
Channel: Thumbsup
Viewing all 2243 articles
Browse latest View live

How to: วิธีปรับตัวสู่โลกการตลาด การประชาสัมพันธ์ สำหรับคนทำสื่อสิ่งพิมพ์

$
0
0

48468616_m

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสื่อ ทำให้ผมมีโอกาสได้ร่วมงานกับคนที่เคยทำ Content จากสื่อดั้งเดิมหลายๆ คนครับ ซึ่งส่วนใหญ่พอมาเริ่มงานกับผมในฝั่งเอเยนซี่ ก็จะพบความท้าทายเรื่องการปรับตัว เพราะการทำงานแบบ Publisher ที่เขาคุ้นเคยมีวิธีคิดที่แตกต่างจากการทำงานการตลาด การประชาสัมพันธ์ ที่เน้น Brand Communication พอสมควร เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาเบาบางลง ผมเลยมาพร้อมกับบทความที่คุณกำลังจะได้อ่านดังต่อไปนี้

เกี่ยวกับ Blog article นี้: Blog ที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้คือการร่วมเขียน หรือ “Co-blogging” กับผู้อ่าน thumbsup หลายๆ ท่าน วิธีของเราคือการ “ตั้งคำถาม” เกี่ยวกับการขอคำแนะนำให้ Publisher สามารถปรับตัวเข้าสู่แวดวงของการทำ Brand Communication (เช่น เคยทำงานนิตยสาร แล้วจะย้ายมาทำงานเอเยนซี่ จะปรับตัวอย่างไร?)

แล้วขอให้ช่วยกันตอบผ่าน Social Media โดยเราจะคัดเลือกและเรียบเรียงความเห็นที่น่าสนใจมาใส่ไว้ในบทความด้านล่าง ผมเรียงตามลำดับความคิดเห็นตามตัวอักษรชื่อของผู้เขียน แต่ถ้าหากท่านใดสนใจอ่านความคิดเห็นโดยละเอียดทั้งหมด ตามไปได้ที่ Social Post นี้  เพราะรายละเอียดเยอะมากครับ จำต้องตัดออกเพื่อให้น่าอ่านมากที่สุดในรูปแบบบทความ

นี่คือคำถามที่ผมส่งออกไปนะครับ

1.) คำถามสำหรับคนเคยผ่านงาน Traditional media: ในฐานะคนที่เคยทำงาน traditional media คุณมีวิธีปรับตัวปรับใจอย่างไรให้ลงตัวกับการทำงานสาย Digital Content ช่วยแชร์ประสบการณ์ วิธีคิดมาสักหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ

2.) คำถามสำหรับเพื่อนๆ ในวงการ Digital: ถ้าคุณมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งซึ่งเพิ่งจะโยกย้ายจากงาน Traditional media มา คุณจะให้คำแนะนำอะไรเขาบ้าง เพื่อให้เขาหรือเธอสามารปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นในการทำงานสาย Digital

3.) ความคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่ตรงในข้อ 1, 2 แต่น่าจะมีประโยชน์ และเสริมให้ Blog นี้แข็งแกร่งทางความคิดมากขึ้น

เอ้าเข้าเรื่องเลย แต่ละท่านว่าอย่างไร

กิตติพัฒน์ มหพันธ์ – Digital Strategy Director, Rabbit’s Tale

ประเด็นสำคัญ: คุณกิตติพัฒน์ไม่ได้มาให้คำตอบว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรชัดๆ แต่เขามาชวนคนอ่านตั้งคำถามฉุกคิดร่วมกันว่า ถ้าจะทำ Content ให้เหมาะกับวิธีคิดแบบ Digital จะต้อง “ตั้งคำถาม” อย่างไร

– Content นี้เขียนเพราะเราชอบคนเดียวแล้วหวังว่าคนอื่นจะชอบเหมือนเรา หรือว่าเป็น Content ที่เรามั่นใจว่าคนอ่านจะชอบแล้วจึงเขียน ผมว่ามันแตกต่างกันนะ แบบหลังจะรู้ล่วงหน้าแล้วว่าเขาเห็น Content เราแล้วเขาจะคิด รู้สึก และทำอะไรต่อ ใช้กระบวนการคิดเชิงโฆษณา (เฉพาะกระบวนการคิด) มาประยุกต์ผมว่ามันจะทำให้ Content เราสอดแทรกและแตกต่างขึ้นมาจาก Content ที่มีอยู่มากมายในแต่ละวัน

– พยายามคิดให้ได้ว่า ใครที่อยากแชร์ Content ชิ้นนี้ (หรือคนรอบตัวกลุ่มแรกที่เรารู้จักที่มีสไตล์ความชอบเดียวกับเรา ถ้าเขาเห็นเขาจะแชร์ชัวร์ๆ) ถ้าจินตนาการเห็น มันจะทำให้เรามั่นใจว่างานเรามีพลัง

– ต่อเนื่องมาอีก คนทำ Content ต้องเข้าใจมนุษย์มากขึ้น ควรมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา ต้องพอรู้ว่าพอเขาเห็นแล้วเขาแชร์ เขาทำไปเพราะอะไร เขาอยากแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้คนอื่น เตือนคนอื่น หรือเขาทำให้ตัวเองดูเหมือนผู้เชี่ยวชาญ เขาแชร์เพราะอยากเท่ที่เห็น Content นี้เป็นคนแรกๆ ฯลฯ

– อย่าคิดแค่ Content ให้คิดต่อล่วงหน้าว่า Content นี้มันจะไปถึงมือคนเห็นได้ยังไง เราจะรู้เลยว่าพาหนะ (สื่อ) แบบไหนจะนำพาไปได้ เวลาแบบไหน เราก็ปรับตัว “สาร” ของเราให้เข้ากับ “สื่อ” เปรียบเสมือนกัปตันที่ต้องขับเครื่องบินแต่ละประเภทได้อย่างคล่องแคล่ว

กตัญญู สว่างศรี – Editor-in-Chief, Moonshot Digital (Digital PR & Content Agency)

ประเด็นสำคัญ: คุณกตัญญูมากระทุ้งทุกคนด้วยการบอกให้ คนสาย Publisher ‘Unlearn’ (อารมณ์ TEDx มากกก) จากสิ่งที่คุณเคยยึดมา อาจใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน

“โดยส่วนตัวนอกจากงานเขียน ผมมีประสบการณ์จาก Production House และการทำ Content หลากหลายรูปแบบมาแล้ว ทำให้ปรับตัวไม่ถึงกับยากมาก แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ คนทำ Content ที่มาจากสื่อดั้งเดิมจะต้องเปลี่ยนคือ Mindset ตัวเอง คือลืมทุกอย่างที่คุณเคยรู้และมาเรียนรู้ใหม่ซะ อย่างผมเองเคยคิดว่าอยากเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันผมผมคิดว่าตัวตนเป็นอะไรก็ได้ คือผมไม่สนใจว่าคนอื่นจะมองตัวผมอย่างไร ผมสนใจแต่ว่าปัจจุบันตัวเราได้ทำอะไรมากกว่า

“สมัยก่อน คนทำ Content ที่ดีในความคิดเห็นของผมตัดสินกันที่ Content ที่ทำนั้นต้องเป็น Content ที่มีความหมาย แสดงความคิดความเชื่อของตัวเองบางอย่าง นำเสนอแง่มุมที่แหลมคม ลึกซึ้ง และเราสนุกที่ได้ทำมัน ทั้งหมดนี้ผ่านระบบบรรณาธิการ แต่ถ้ามาตรงสายดิจิทัล แค่นั้นไม่พอ มันจะต้องมีทั้ง Content ที่ ถูกต้อง ถูกกลุ่ม ถูกคน (ตรงกลุ่มคนอ่าน)”

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล – Founder of FuKDuK Production

คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจว่าการสร้างเนื้อหานั้นมีหัวใจเหมือนเดิม แต่การปรับรูปแบบตามประเภทของสื่อมันต่างกันครับ

อย่าง Social Media Content หรือ Blog Content ก็ต่างกัน …. Influencer Content กับ Review Content ต่างกัน หรือ Pre-Roll Video Advertising กับ Bumper Ad ก็ต่างกัน ….นี่แค่ส่วนออนไลน์ก็ต่างกันนะครับ เช่นเดียวกับ หนังสือพิมพ์กับ Tabloid หรือ Non-Fiction Book กับ Fiction Book ครับ คนทำงานได้หลากหลายสื่อคือคนที่ต้องเก่งอหังการมากๆ ครับ ต้องศึกษาการเสพของคนในแต่ละ Media แล้วต้อง Engineer แนวทางการนำเสนอด้วย Media นั้นๆ ให้ Content โดดเด่นครับ

ผมเองทำหนัง ละคร รายการทีวี บริหารช่องทีวี ทำทีวีออนไลน์ ทำเคเบิ้ลทีวี โฆษณา แสงสีเสียง Event ละครเวที Blog วิทยุ Webboard/Forum, Community Site ฯลฯ …..เลยสรุปได้ว่ามันไม่ต่างกันมากครับ

ส่วนต่างคือการที่เราต้องเปิดคู่มือดูวิธีการใช้งาน Tools (Media) นั่นแหล่ะครับ ซึ่งคู่มือนั้นๆ คือการทดลองใช้ Media จากการเสพ และการสังเกตผู้เสพสื่อจนเข้าใจวิถีการใช้ชีวิตครับ อยากถามเพิ่มยินดีครับ ลองมาเกือบหมด ทุก Media ละครับ เดี๋ยวนี้การคิดงานคือคิด Offline + Online พร้อมกันตลอดครับ เนื้อกลางจะหั่นออกไปกระจายหลายแบบได้ครับ ไม่ต้องยึดติดน่ะครับว่าอะไรต้องลงสื่อไหน แต่มันปรับ Format ของเนือหาให้เข้ากับทุก Media Channel ได้ครับ

ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล – ผู้ก่อตั้งบริษัท FireOneOne

1. เรากำลังอยู่ในยุคของ High Speed Economy : ซึ่งข้อมูล (ทั้งผิดและถูก) ถูกแปรสภาพเป็น Digital form แล้วไหลผ่านฟอร์แมตที่เป็นสากล (เช่น Facebook Status ทั้งหลายถือว่าเป็นฟอร์แมตสากลในความคิดของผม ต่างจากยุคที่เราอ่านไฟล์ที่มาจากคนละ OS ไม่ได้ และต่างจากยุคที่เราอ่านหนังสือพิมพ์คนละฉบับ ซึ่งนั่นยิ่งเป็นคนละฟอร์แมตกันใหญ่เลย)

ทุกวันนี้ผู้บริโภคจึงรับรู้ข่าวได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์แล้ว เมื่อฟอร์แมตมันเปลี่ยนไป พฤติกรรมจึงเปลี่ยนตาม จากเดิมที่อ่านเนื้อเรื่องละครในหนังสือพิมพ์แล้วเอามาคุยกันในที่ทำงานก็กลายมาเป็นการดูละครผ่านสตรีมมิ่ง หรือนินทานางเอกผ่าน Comment … รวมถึง Live Straeming ที่กำลังจะมาแรงแซงทุกอย่าง ดังที่เราเห็น Twitter เริ่มถ่ายทอดสด NFL Thursday Night Football เรียบร้อยแล้วเพื่อพิสูจน์ว่า Twitter ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานะ Second screen อีกต่อไป … คนทำงานสาย Digital อย่าง Twitter จึงเข้าใจหัวใจของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงนี้ได้เป็นอย่างดี และกล้าพอที่จะ “ลองของใหม่” ด้วยเงินลงทุนก้อนหนึ่งในซีซั่น 2016-2017

2. เมื่อฟอร์แมตและสปีดมันเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้ว ข้อมูลขยะก็มากขึ้นไปพร้อมๆ กับข้อเท็จจริงที่ไหลอย่างรวดเร็วทุกวัน

มีหลายประเด็นที่คนทำงานทางด้าน Digital ต้องระวังให้ดีครับ บางคนสนุกกับมันทุกวันจนหลุด Concept ไปซะง่ายๆ (เหมือน Inc. ที่ผมเพิ่ง Unsubscribe ไปเพราะน่าเบื่อขึ้นเรื่อยๆ คาดว่ามัวแต่ไปลุ่มหลงกับตัวเลขบางตัวจาก matrix ที่ผิด)

บางคนรีบร้อนไม่ทันระวังตัวจนกลายเป็นหนึ่งในคนแพร่ข่าวลวง บางคนสามารถควบคุมข่าวสารได้ดีแต่ก็ต้องสูญเสีย Lifestyle ให้กับข้อมูลและการสื่อสารเพื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างดีที่สุด การไหลบ่าของข้อมูลนี่มันไม่มีชีวิตของมันเอง เพราะมันเกิดจากคนจำนวนมหาศาลพร้อมใจกันเทใส่เข้ามาในแต่ละวินาที ซึ่งพวกเราไม่สามารถชะลอได้ง่ายๆ ด้วยนะครับ

ดังนั้นคนทำ Digital ต้องเข้าใจการไหลบ่านี้และต้อง Control มันให้ได้ อย่าให้มัน Control เรา” … เมื่อคุณทำได้ สิ่งที่จะตามมาก็คือศิลปะในการนำเสนอแบบใหม่ที่โลกนี้ยังไม่เคยเห็นมาก่อน

3. เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานนี้ ผมเชื่อว่าเราทุกคนจะเริ่มรู้สึกได้ว่า Mindset เดิมของเรานั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว … เราสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้จากพื้นฐานใหม่นี้ฮะ

เมื่อไม่กี่วันก่อนนี้ผมดู Live Streaming ของ “พรานปลา” คนนึงที่ใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวถ่ายทอดสดการสู้กันระหว่างลูกค้าชาวต่างชาติของเขาที่เดินทางมาตกปลาในแม่น้ำบางปะกงบนเรือหางยาวลำเล็ก … หกชั่วโมงที่พวกเขาต่อสู้กันกับกระเบนตัวเขื่องที่ติดเบ็ดมาตั้งแต่บ่าย ก่อนที่กระเบนจะหมดแรงในตอนค่ำ

มีคนดู Live Streaming พร้อมๆ กันราว 5 – 6 หมื่นคนในแต่ละช่วงเวลา ตลอดระยะเวลา 6 ชั่วโมงกว่ามียอด View สะสมถึง 400,000 คน ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากที่อื่นๆ ของโลกใบนี้ที่ได้รับการแชร์กันไป นี่เป็นตัวอย่างนึงของ ศิลปะในความเข้าใจ Digital และการนำเสนอให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค

สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มาจากสายงาน Traditional Media และกำลังก้าวเข้าสู่โลก Digital … “เราจำเป็นจะต้องเข้าใจการไหลบ่านี้และต้อง Control มันให้ได้ อย่าให้มัน Control เราครับ

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี, เวิร์คพอยต์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

1: จริงๆ แล้วไม่ว่าจะทำงานอะไรมันก็ต้องปรับตัว เอาแบบง่ายสุดนะ เมื่อก่อนพนักงานใช้พิมพ์ดีด เครืองคิดเลข เดี๋ยวนี้ทุกคน ต้องใช้ computer และ excel เป็น เมื่อก่อนใช้ไม่เป็นต้องไปเรียน มันปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดไม่ว่าจะทำอะไร สมัยนี้มันอาจเปลี่ยนเร็วขึ้น

2: คำแนะนำของพี่ ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็คือ อย่าไปยึดติดกับรูปแบบนัก อะไรที่เคยสำเร็จ มันอาจไม่สำเร็จแล้ว อะไรที่คิดว่าใหม่ เจ๋ง มันก็อาจไม่ได้ใหม่และเจ๋ง เพราะโลกใบนี้ มันเล็กลง ความใหม่ ความเจ๋ง มันอาจต้องเป็นระดับ global แต่อย่าลืม think global act local เสมอ

ที่สำคัญมันต้องไม่ใช่แค่เห็นต่างประเทศทำแล้วหยิบแรงบันดาลใจมาใช้

แต่ก็นั่นอีกแหละ ไม่มีอะไรใหม่อีกแล้วในโลกใบนี้ หีบห่ออาจแค่เปลี่ยนไป หาแก่นให้เจอให้เร็ว ดังนั้น คำแนะนำต่อมาคือ พยายามทำตัวเป็นนักทดลองให้บ่อย ทดลองทำบ่อยๆ จะเห็นทาง และอย่าหยุดทดลอง เพราะ โลกหมุนเร็ว แป๊ปเดียวก็เปลี่ยนอีกแล้ว

สุดท้าย เราอาจต้องฝึกให้มี sense เป็น normal consumer มากกว่า sense ทางด้าน creator เรามักเผลอคิดเรื่องความคิดสร้างสรรค์มากกว่า consumer behavior ตรงนี้สร้างสมดุลไม่ง่าย คล้ายๆ เรื่อง function กับ form ของ วิชาสถาปัตย์ หรือ optimum utility ของวิชาเศรษฐศาสตร์

เราชอบสร้างอะไรที่เชื่อว่าคนจะชอบ หรือเชื่อว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมคน แต่บางทีเราอาจยังไม่เข้าใจพฤติกรรมคนแบบถ่องแท้

พฤติกรรมคนมักจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่เขาสบายใจ ไม่ใช่ force to change เราก็ชอบเผลอทำอะไรที่เราชอบทำกันนั่นแหละ และก็เผลอเชื่อว่าคนอื่นจะชอบ เราอาจต้องฝึกชอบทำในเรื่องเดียวกับที่คนอื่นชอบ สำคัญคือ เราต้องชอบมันด้วย

ที่รัก บุญปรีชา – พิธีกรรายการ ล้ำหน้าโชว์

ผมเป็นคนนึงที่ทำงานด้าน Traditional media มาแล้วก็ปรับตัวเองก้าวเข้าสู่ Digital content สิ่งแรกที่อยากบอกคือ คนที่จะก้าวข้ามมาทำสิ่งนี้ สิ่งที่คุณเอามาได้มีแค่ไม่กี่อย่างคือ มาตรฐานการทำงาน กับความรู้ความสามารถในการสร้างชิ้นงาน แต่ที่เหลือเราต้องมาปรับตัวกันใหม่ให้เข้ากับโลกดิจิทัล ตั้งแต่ วิธีคิด การครีเอท แนวทางการนำเสนอ หลักการ โดยเฉพาะเหตุผล ใช้ของเดิมไม่ได้เลย ต้องเรียนรู้ และศึกษาความเป็นโลกออนไลน์ พฤติกรรม และขอบเขตของความคิดกันใหม่หมด ความเก๋าในวงการที่เราเคยผ่านมาช่วยให้เราปรับตัวได้เร็วขึ้นครับ แต่ต้องเปิดใจที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆให้ได้ก่อน เมื่อปรับตัวได้แล้ว เราก็จะบินได้เหมือนเดิม แต่คนละท้องฟ้า…ที่เราเคยบินมา

“จิมมี่” ธนเทพ ธเนศนิรัตศัย – Headlightmag.com

ของผม มันเป็นประสบการณ์ที่อาจจะแตกต่างจากคนอื่น ผมเริ่มจากการได้รับโอกาสให้เขียนบทความรถใหม่ ในนิตยสาร GM CAR เครือของ GM ในปี 1998 ถึงต้นปี 1999 ก่อนจะย้ายตามเจ้านายเก่า มาทำนิตยสาร Thaidriver (ตอนนี้ โดน สยามสปอร์ต เทคโอเวอร์ไปแล้ว)

พอปี 2004 มีโอกาส ได่เข้าไปทำนิตยสาร Auto Build ในช่วงเปิดตัวราวๆ ครึ่งปี เห็นความแตกต่าง และวิธีคิดมากมาย ในช่วงนั่น ผมเห็นข้อจำกัดในการเขียนบทความลงสื่อสิ่งพิมพ์มากมาย มีอะไรอยากเล่าให้คนอ่านเยอะ จะใส่ไปหมดก็ไม่ได้ วันนึง ปี 2001 เพื่อนคนหนึ่งมาบ้าน เขาเป็นเซลส์ Volvo ตอนนั้น เอา รถใหม่ มาให้ลองขับวนแถวบ้าน เขาจุดประกายในสิ่งที่ผมมองข้ามไป “ทำไมมึงไม่ลองทำรีวิวรถ ลงในเว็บดูบ้างละ” และนั่นคือจุดเริ่มต้นของผม ในปี 2001

1.สำหรับผมแล้ว การปรับตัวไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะตัวเราเอง โตมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เราเห็นข้อจำกัดต่างๆ เยอะ จนตั้งใจเลยว่า จะไม่ทำหนังสือเองแน่ๆ

2. สำหรับผม ขอแค่ “เขียนในสิ่งที่คุณดีใจจนอยากให้พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงได้อ่าน” อย่าทำในสิ่งที่แม้แต่ตัวคุณเอง ไม่อยากอ่าน และระลึกถึงผลกระทบ ที่จะตามมาไว้ให้เยอะๆ แต่บางครั้ง ถ้ามั้นใจว่า เราคิดถูกแล้ว ก็ช่างหัวพวกที่มาด่าเราไปซะ (บางครั้งนะ ไม่ใช่ทุกครั้ง)

นรินทร ภู่สุธรรม – Consumer Market Insight Senior Manager, Thai Samsung Electronics

ตอบคำถามนี้ในมุมมองของคนทำงานด้าน Consumer Insight นะครับ ผมคิดว่าตอนนี้ทุกหน่วยงานต้องปรับตัวเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของโลก Digital ยังไม่ได้เปลี่ยน fundamental needs ของ consumer แต่ทุกอย่างจะมาเร็วขึ้นเพราะ Digital มันทำให้ทุกอย่าเกิดไวขึ้นหลายร้อยเท่า พอทุกอย่างเกิดเร็วขึ้น คนก็เบื่อเร็วขึ้น ดังนั้นคนทำงานจะต้องเร็วกว่าความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของ Consumers

Trend ที่ฮิตสมัยนี้มาเร็วไปเร็วพราะ คนเบื่อเร็วขึ้นเรียกร้องหาสิ่งใหม่ๆ เร็วกว่าเมื่อก่อน ในมุมมองผม ผมว่าหัวใจของงานในแง่ Content เหมือนเดิม แต่ทุกอย่างต้อง เพิ่มดีกรีทั้งความเร็วความสนุกความแตกต่างสั้นกระชับ ต้องมีแง่มุมใหม่ๆ ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างสมัยก่อนกว่าจะเห็นเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำกันได้ต้องรอกันเป็นเดือนๆ ทุกวันนี้ไม่กี่นาทีเองครับ

ยุคนี้ทุกคนต้องปรับตัว โดยการต่อยอดจากความรู้เดิมที่เรามีอยู่ ผมว่าที่สำคัญที่สุดคือ ทัศนคติ ของเราเอง ว่าเรายอมรับกับความเปลี่ยนแปลงได้มากแค่ไหน และที่สำคัญสนุกไปกับมันมากน้อยแค่ไหนด้วยครับ

ต้องมอง Content ในมุมมองของ Consumer ว่าสื่อที่เขารับเป็นทางไหนพฤติกรรมตอนรับสื่อเป็นอย่างไร เช่น เปิดดูระหว่างเดินทางหรือทำกิจกรรมอื่น concentration น้อยลง และมีสื่ออื่นๆ จ่อคิวรอให้อ่านอีกมากมาย ถ้า Content คุณไม่โดนก็โดนคนอื่นอย่างไปกิน

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ – อาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นิตยสารเมื่อก่อนทีมใช้เวลา 1 เดือนปิดเล่มและตรวจ แต่ในปัจจุบันย้ายมาเป็นเว็บไซต์ การทำงานเปลี่ยนช่วงแรกคือ ความลำบาก จากที่เคยทำ 30 วัน วางแนวทาง ต้องกลายมาเป็น 1 – 7 วัน ในการสรุปเทรนด์และแนวทางในการเล่น และดูกระแส, การขายงานจากเดิมคือขาย print หน้าคู่ ทีมต้องจ้างที่ปรึกษาเรื่องของ Ads ค่า rate ขายเป็น IMP, Click กระบวนการ ขาย Subscribe premium content, Call to Action ไปจนหลังๆ ต้องวางแผน content เป็น Hybrid platform คือ video และ web advertorial ทีมต้องใช้วิธีเรียน insight จาก Google analytics, Piwik หลายๆ แบบ เอา audience มาปรับ Content ให้น่าสนใจ

สรุปต้องตื่นตัว และเรียนรู้อีกเยอะ สำหรับผมเองปัญหาหลักคือ traditional ที่เพิ่งย้ายมายังมีปัญหาคือไม่ค่อยยอมรับศัพท์พื้นฐานเทคนิค พวกครีเอทีฟที่เพิ่งย้าย มักจะบอกว่ามันเป็นภาษาต่างดาว ไม่เข้าใจ ทั้งที่บางศัพท์คือ คนที่ยังใหม่ต่อโลกดิจิทัล (digital newbie) ต้องรู้ไม่งั้นอยู่ไม่รอด และ ต้องให้คำแนะนำเรื่องการทำงานแบบมี timeline หรือ leadtime ปัจจัยในการผลิตว่า บน digital อาจจะง่าย แต่มันไม่ใช่จะทำอะไรได้เร็วๆ เพราะถ้ามันไม่ดีแล้วปล่อยขึ้นไปการแก้ไขมันยาก ไม่เหมือนหนังสือที่แค่เรียกเก็บก็จบ

คนที่ยังใหม่ต่อโลกดิจิทัล ปีที่แล้วมีเยอะมากครับ ส่วนมากคือ SMEs และ สาย tranditional เก่า เยอะมากตามสัดส่วนของ Guru digital marketing และเทรนด์ Technology พวกเขารู้เรื่อง Success case ที่ลงทุนน้อย ผลตอบแทนดี แต่ไม่เคยมีใครบอกว่า Process, Production มันยากและมีระยะเวลาจำกัดในการทำงาน และแก้ไข หรือ pre-campaign เช่น กูรูบอก ย้ายจาก หนังสือเป็นเว็บสิแล้วทำ ads พร้อม google analytics พร้อม App บน iPad เลย แต่ไม่บอกว่าแต่ละสิ่งต้องประเมินและต้องใช้เวลา นาน-สั้นแค่ไหน? อยากให้ digital newbie ทั้งหลาย เรียนเพิ่มครับ เพราะ คนพัฒนา และคนวางแผนลำบากในความไม่รู้ครับ

อื่นๆ ที่อยากแนะนำ ยังขอย้ำในสายเว็บ portal พวกข่าว บทความ จากนิตยสารเก่า หนังสือเก่า ในฐานะที่ปรึกษา คนทำ Traditional หรือหนังสือ ที่ย้ายมาเป็นเว็บไซต์มักจะสนุกกับ Digital Metrics เปลือกนอกคือ Views พอเยอะก็ไปเพิ่มปริมาณ Content ให้เยอะ บางที่ วันละ 5 ข่าว เพื่อให้มากกว่าคู่แข่ง คนเข้าเยอะๆ, อันที่จริงมันก็ดีแต่ ผมก็ยังขอแนะนำว่า ถ้า average time on site มันดี และ Customer flow มันต่อเนื่องไปหลายๆ หน้าก็โอเคครับ แต่ถ้าไม่ average time น้อย return visit ต่ำลง อยากให้เลิกแข่งกับคนอืน หา character แนวทางของเว็บ ของสื่อตัวเอง blog ตัวเอง ให้ชัด ทำ Feature articleให้ดีขึ้น เจ๋งขึ้น น่าสนใจ ลดปริมาณลงก็ได้ครับๆ

พลสัน นกน่วม – กองบรรณาธิการ, Mango Zero

ผมตอบในฐานะคนทำ Traditional media นะครับ ตอนที่ผมมาทำงานกับ Mango Zero สิ่งแรกสุดที่ผมทำเลยคือโยนทุกอย่างที่เคยเข้าใจ เคยรู้ เคยชินเกี่ยวกับการเขียนบทความเพื่อลงนิตยสารทิ้งไว้ด้านหลังก่อน เพราะกระบวนการคิดเพื่อสื่อสารผ่านออนไลน์ สำหรับผมคนล่ะศาสตร์เลย ผมพร้อมเรียนรู้ใหม่ในทุกกระบวนการสื่อสารของสื่อออนไลน์ โชคดีที่ผมปรับตัวได้โดยใช้เวลาไม่นาน พอจะเข้าใจในธรรมชาติของงานใหม่ได้ในระดับหนึ่งจึงไม่เสียเวลาปรับตัวมาก และบางเรื่องยังเอาสิ่งที่เคยรู้ในโลกเก่ามาประยุกต์กับโลกใหม่ เช่นการคิดต่อยอดประเด็นในการนำเสนอบทความ ที่ยังต้องปรับอยู่ตอนนี้คือการคิดวิธีการสื่อสาร ที่มันต้องไว ต้องเร็ว ต้องสนุก ถ้าผมปรับได้ 100% แบบพี่เอ็ม หรือน้องในกอง มันจะยิ่งสนุกขึ้นแน่ๆ

ระวี ตะวันธรงค์ – Social media Manager, Thairath Online

1) Vision สำคัญที่สุด ไม่ใช่ vision ของบริษัท แต่เป็นของตัวเอง เพราะเราต้องมองให้ออกว่าอีก 3-5 ปีข้างหน้า เราจะยืนอยู่ในจุดไหนของวิชาชีพ วันนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน วันนี้อนาคตมันเร็วและใกล้ มันเลยจุดของคำว่าปรับตัว แต่ต้องคิดให้ได้ว่าจะ “ทำอะไรต่อไป”

2) ต้องชี้ให้เขาเห็นอนาคต เหมือนข้อ 1 เพราะวันพรุ่งนี้คือดิจิทัลเท่านั้น ไม่มีอื่นใด สื่ออื่นไม่ได้ให้ไป แต่ถ้ายึดติดจะทำให้เราจมลง สื่ออื่นคือเสาหลักที่ดีต้องยึดถือ แต่ดิจิทัลคือเรือลำใหม่ที่ต้องรีบโดดขึ้นก่อนที่นำจะท่วมเสาหมด

วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์ – บรรณาธิการบทความ themomentum.co

ถ้าถามว่าจากคนทำสื่อเก่ามาทำสื่อดิจิทัล ปรับตัวอย่างไร

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยทำสื่อมวลชนซึ่งเป็นสื่อเก่า (นิตยสาร) เมื่อ 3 ปีก่อน และตัดสินใจมาทำดิจิทัลเอเจนซี่ พบว่า การปรับตัวคือเรื่องสำคัญ และจะปรับตัวได้ต้องมองเห็นและยอมรับ ‘ความจริง’

ความจริงที่หนึ่ง – โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว สื่อเก่าไม่ใช่สื่อที่ฟังก์ชันอีกต่อไป แน่นอน ถ้าคุณเป็นสื่อมวลชน เมื่อมวลชนไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่คุณอยู่ คำถามคือคุณจะอยู่ที่เดิมแล้วสื่อสารกับมวลชนที่ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ หรือจะย้ายตัวเองไปหามวลชนกลุ่มใหญ่ในโลกใบใหม่

ความจริงที่สอง – หากคุณต้องการสื่อสารกับมวลชน คุณจำเป็นต้องเปลี่ยน ‘พื้นที่’ การสื่อสาร เมื่อพื้นที่เปลี่ยน คุณต้องยอมรับว่า พื้นที่แต่ละแห่งมีลักษณะเฉพาะ โลกในกระดาษกับโลกออนไลน์ต่างกัน หรือแม้จะเป็นพื้นที่ในโลกออนไลน์ แต่โลกในเฟซบุ๊คกับทวิตเตอร์ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจ (ด้วยการสังเกต ทดลอง และตั้งคำถาม) ในพื้นที่ใหม่ ว่าควรจะสื่อสารอย่างไร

ความจริงที่สาม – กล้าที่จะ ‘รื้อ’ วิธีการเก่าๆ ที่คุ้นชิน และกล้า ‘ทดลอง’ อะไรใหม่ๆ เช่น หากคุณเคยเป็นนักเขียนนิตยสาร เมื่อก่อนคุณอาจเริ่มเรื่องด้วยการเกริ่นประโยคสวยๆ ซึ่งเป็น ‘ขนบ’ ที่ได้รับความนิยม แต่ในโลกใหม่ ข้อความนั้นกลายเป็นความเยิ่นเย้อ

ความจริงที่สี่ – พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปแล้ว การสังเกตสิ่งนี้ จะทำให้เห็นว่า เทคโนโลยีมีผลต่อวิถีชีวิตคนมากจริงๆ ขนาดของหน้าจอ ความเร็วและล้นของข้อมูลที่ไหลบ่า สมาร์ทโฟนที่ถ่ายรูป-วิดีโอ หรือฟังก์ชั่นใหม่ๆ ของเฟซบุ๊ค และอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ล้วนมีผลกับพฤติกรรมของคน ดิจิทัลไม่ใช่ออนไลน์ แต่คือวิถีชีวิต และโลกยุคนี้ คือ ยุคของมัลติมีเดีย เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีการสื่อสารในทุกรูปแบบ ทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ การเขียนบทความ สคริปท์ สปอตวิทยุ ฯลฯ

ความจริงที่ห้า – ถ้าคุณเป็นสื่อมวลชน ที่มาทำงานเอเจนซี่ดิจิทัล (หมายถึงเอเจนซี่โฆษณา) นอกจากจะต้องเรียนรู้และเข้าใจเกมในโลกใหม่ สิ่งสำคัญคือการปรับ ‘วิธีคิด’ ว่า คุณต้องทำงานร่วมกับคนหลายฝ่าย และคอนเทนท์ที่ดีที่สุดไม่ใช่ของ ‘คุณ’ แต่เป็นของ ‘เรา’ ที่หมายถึงลูกค้า เออี ฝ่ายกลยุทธ์ นักการตลาด และเพื่อนร่วมงานที่เกี่ยวข้อง

ความจริงที่หก – จะเจอกับศัพท์แสงเฉพาะมากมาย ซึ่งหลายคำจำเป็นต้องรู้ เพื่อประโยชน์ของตัวเองและการติดต่องาน รวมถึงคุณอาจจะต้องทำงานบางอย่างที่ไม่เคยทำ เช่น การทำ content plan การเข้าประชุมระดมไอเดีย การนำเสนองาน การเข้าพบลูกค้า *วิธีคิดและวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป ทำให้ชีวิตหลายคนไม่ง่ายและอาจถอดใจ

ความจริงที่เจ็ด – โลกได้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ หากคุณอยากเป็นสื่อที่อยู่กับมวลชน หรือคอนเทนท์ครีเอเตอร์ที่ต้องการสื่อสารกับคนส่วนใหญ่จริงๆ แล้วล่ะก็ ถ้า ‘ใจ’ คุณมา ไอ้เรื่องการปรับตัวหรือเรียนรู้แม้จะไม่ง่าย แต่เชื่อสิว่ามันไม่ยาก สุดท้าย อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ แม้จะมีสถิติบอกว่า ทำแบบนี้ดี แบบนั้นดี แต่ความจริงคือไม่ใช่ว่าจะเป็นแบบนี้นเสมอไป แนะนำให้ทดลอง ลองทำ และอย่าลืมสังเกต ‘ความจริง’ ที่เกิดขึ้น เพราะความจริงและพฤติกรรมคนในโลกยุคนี้เปลี่ยนเร็วจริงๆ

ส่วนถ้าถามว่ามีแนะนำอะไรให้เพื่อนจากสื่อเก่าในการปรับตัวบ้าง ผมอยากให้เรายอมรับ ‘ความจริง’ ในวันนี้ และมองไปข้างหน้า ก่อนจะจบด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน

คนปรับตัวเท่านั้นที่อยู่รอด.

ปล.จากประสบการณ์ในช่วงแรกๆ เพื่อนที่อยู่ในระยะปรับตัวอาจจิตตก หรือเหวอกับโลกใหม่ นอกจากพูด ‘ความจริง’ ให้เพื่อนฟัง บางเวลาคุณอาจต้องปลอบประโลมและปลุกเร้าเพื่อนบ้าง

ถ้าชวนแล้วเพื่อนจากสื่อเก่ายังลังเล ก็จะแปะอันนี้ให้เพื่อนอ่านฮะ

สิริมน ณ นคร – Founder/managing director, Open Dialogue

ขอร่วมตอบในฐานะเคยเป็นทั้งบรรณาธิการบริหาร และ Publisher ในสายงาน Publishing และตอนนี้มาเปิด Content Agency โดยใช้ทีม editorial ที่มาจาก Publishing ว่าประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ traditional หรือ digital เพราะทั้ง 2 อย่างเป็นแค่ Platform ค่ะ

1. Storytelling ควรจะนำไปใช้ได้ในหลากหลาย platform และมีการปรับวิธีการเล่าเรื่องให้เหมาะสมกับ platform ค่ะ เพราะฉะนั้นมันคือการปรับในเชิงทัศนคติ และการ training ทีมบรรณาธิการให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบและธุรกิจของ content ที่กำลังสนุกขึ้นในการเล่าเรื่องและบูรณาการลงไปในทุกๆ platform มากกว่าค่ะ ซึ่งมันเป็นเรื่องยากในการสร้างการปรับเปลี่ยนตรงนั้นต้องมีประสบการณ์ ที่มากพอในหลากหลายและต้องรู้จริงในเรื่อง Publishing ค่ะ

คำถามง่ายๆ ว่าเวลาคิด Content Pillar มี Content Strategy ที่มี insight อะไรบ้าง มีแกนกี่แกนในการใช้คิด ถ้ามาจากสาย Publishing คิดโดยไม่มีตรรกะ พวกนี้ก็อาจจะคิด Content ที่ไม่ใช่ one step ahead ซึ่งก็จะวิ่งอยู่ในเส้นเดียวกับคนอ่าน จะไม่มีใครอยากอ่านสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว ก็เป็นหนึ่งในอีกหลายเรื่องที่ต้องทำการ training ทีมเราคะ บรรณาธิการหนึ่งคนต้องเข้าใจและเขียนได้ในทุก platform สมัยนี้ไม่ได้มีแค่

traditional หรือ digital อีกแล้วนะคะ content is everywhere คะ

สุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director, Rabbit’s Tale

ยังยืนยันคำที่บอกว่า ผู้ที่สร้างและทำลายแบรนด์ในปัจจุบันคือ consumer ที่ถูกให้อำนาจด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน อีกสิ่งที่น่าจะต้องทำความเข้าใจก่อน คำว่า digital สำหรับเพื่อนๆ ใน traditional ยังคงเข้าใจว่าเท่ากับออนไลน์ คือออนไลน์เป็น channel ที่ส่งผลมากแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด และการรับสื่อมันเป็นปลายทางของพฤติกรรมหลายๆ อย่างเท่านั้น ต้องมองกลับไปที่ behavior และ journey ของคนให้มากที่สุด สุดท้าย การทำงานบน digital ต้อง unlearn บางอย่าง ลบความเชื่อเก่าบางอย่างออกไปก่อน เช่น การทำงานที่เริ่มต้นจาก strategy > creative > media อาจใช้ไม่ได้กับทุกงานเสมอไป รูปแบบมัน freeform มาก หรือแม้กระทั่งความเชื่อว่า digital ราคาถูกเสมอ ก็เช่นกัน

หาญ ทองหุ่น – ผู้จัดการฝ่ายการตลาดออนไลน์ บ.อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

โดยธรรมชาติ คนทำสื่อเก่ามา จะ มีลักษณะ Passive มากครับ และจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตนเอง Passive ถ้าเติมประจุความ Active ก็ถือว่าผ่านด่านแรกได้ครับ อีกด่านหนึ่งที่ผมมองว่าหินที่สุด และจะว่าไปเป็นกำแพงที่มองไม่เห็นครับ นั่นคือ เรื่องของ “หัวโขน” ครับ ความภูมิใจ ความทะนงตนสมัยอยู่ในสื่อเดิม ต้องโยนทิ้งไปให้หมดครับ เพราะไม่เช่นนั้น คุณจะไม่เรียนรู้ ไม่เรียนรู้ ก็จะไม่มี “เอ๊ะ” (การฉุกคิด) ในการทำงาน เมื่อไม่มี “เอ๊ะ” ทำงานดิจิทัล ก็จะลำบากครับ เรื่อง เทคนิคต่างๆ เรียนรู้กันได้ แต่ผมคิดว่าสองประเด็นนี้ สำคัญสุดครับ และที่อยากจะเพิ่มเติมไว้ตรงนี้คือ Content is liquid และ อย่ายึดติดกับ Platform ครับ แต่จงทำความเข้าใจกับธรรมชาติของแต่ละ Platform

อมเรศ ชุมสาย ณ อยุธยา – Chief Innovation Officer, The Leo Burnett Group Thailand

มาช่วยตอบข้อสองให้ครับ ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่เข้าสู่โลกที่ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มนะ

Creator (content owner) – คุณคือกำลังหลักของ digital economy ครับ สังคมรอชมผลงานของคุณอยู่ว่าคุณจับประเด็นสังคมได้น่าสนใจแค่ไหนและมีวิธีนำเสนอเด็ดๆอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าถ้าคุณทำดีจะมีคนนึกถึงและคอยสนับสนุนคุณเสมอ

Communicator (advertiser) – คุณคือผู้สนับสนุนหลักของ digital economy คุณต้องเข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คน ว่าสินค้าและบริการของคุณสร้างมูลค่า (deliver value) อะไรให้กับพวกเขา

Connector (agency) – คุณคือคนที่จะเชื่อมโยงทั้งสองส่วนเข้าหากัน คุณจะไม่ได้แค่เข้าใจสื่อและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่คุณจะต้องเข้าใจในธุรกิจและพฤติกรรมของผู้คนอย่างลึกซึ้ง เพราะคุณจะต้องสร้างมูลค่าในสังคมโดยใช้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ สำคัญที่สุดทุกส่วนต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และขอให้สนุกกับมันครับ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

และทั้งหมดนี้คือความคิดเห็นจากคนในแวดวงการสื่อสารแบรนด์ที่มีต่อการปรับตัวจากยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิทัลนะครับ

ถ้าจะให้ผมสรุป ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปรับทัศนคติให้ได้ก่อน หยุดตีอกชกหัวตัวเองแล้วยอมรับความจริงว่าคุณค่าที่ Publisher เคยยึดถือมาเนิ่นนานว่าเราเคยเป็น “คนพิเศษ” อาจจะใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน หากสิ่งที่เราคิดและเขียนนั้นปราศจากคนรับรู้ในบริบทของการสื่อสารยุคใหม่ที่มีเรื่องของระยะเวลา และสมาธิของคนที่สั้นลงเป็นตัวกำหนด

บางคนอาจจะบอกว่าถ้าอย่างนั้น แค่เราย้ายตัวเองมาอยู่บนเว็บไซต์ และ Social Media โพสต์อะไรสั้นๆ ก็อาจจะพอแล้วใช่ไหม?

ตรงกันข้ามครับ มันอาจไม่ใช่แค่รู้ว่า ‘ช่องทาง’ ไหนมีคนติดตามเยอะ มี Media Effectiveness เท่าไหร่ เรตติ้งเท่าไหร่ โพสต์สั้นๆ คนน่าจะ like เยอะ share เยอะ แต่มันคือเรื่องของการพยายามเอาตัวเราเองเข้าไปอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคใหม่ แล้วทำความเข้าใจวิธีคิดของกลุ่มคนที่คุณรับใช้เขาอยู่ ว่ากลุ่มคนที่คุณห่วงใยนั้นให้ค่ากับอะไร เขาเพลิดเพลินกับอะไร มีปัญหาอะไร แล้วเราเอา Content ของเราไปช่วยทำอะไรให้เขาดีขึ้นได้บ้าง ทำตัวให้มีประโยชน์กับเขาได้อย่างไร

มันกลับมาที่เรื่องพื้นฐานว่า การเข้าใจกลุ่ม audience ของเราให้ดีนั่นเอง ส่วนกระบวนการที่เราจะเดินไปให้ถึงจุดนั้น

สูตรใครสูตรมันล่ะครับพี่น้อง

 
Source: thumbsup

The post How to: วิธีปรับตัวสู่โลกการตลาด การประชาสัมพันธ์ สำหรับคนทำสื่อสิ่งพิมพ์ appeared first on thumbsup.


7 เหตุผลว่าทำไมควรเพิ่มงบประมาณให้แผนก PR ของคุณในยุคดิจิทัล

$
0
0

ออกมาเปิด Digital PR Agency เองสักพัก หนึ่งในปัญหาที่ผมเจอคือแบรนด์ต่างๆ มักจะบอกว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือ PR ทำงานเน้น Earned Media (สื่อที่ได้มาเป็นผลพลอยได้ของการกระทำ เช่น ทำให้คนแชร์ต่อ ทำให้บล็อกเกอร์เอาไปเขียนต่อ) เลยจัดงบประมาณของแผนก PR ไม่สูงเท่ากับฝ่ายการตลาด ทั้งที่มันอาจจะขัดกับสภาพความเป็นจริงในตลาดไปแล้ว วันนี้ผมมีเหตุผล 6 ข้อชวนคิดสำหรับผู้บริหารว่าทำไมควรที่จะพิจารณาจัดงบประมาณใหม่ให้แผนก PR ในฐานะแผนกสำคัญด้าน Brand Communication นะครับ

Communication Platform ต่างๆ กำลังกลายเป็น “Paid Media” มากกว่า “Earned Media”

ถ้าสังเกตกันดีๆ ปัจจุบัน เส้นแบ่งระหว่าง “Paid” กับ “Earned” กำลังจางลง Communication Platform อย่าง Facebook, Instagram, YouTube, Twitter และ Search อย่าง Google ล้วนแล้วแต่อยู่ได้ด้วยเงินโฆษณา ดังนั้นการที่ Communication Platform เหล่านี้จะ ‘เปิดท่อ’ ให้ข้อมูลข่าวสารของเราไหลบ่าไปสู่ผู้คนจำนวนมากนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจ่ายเงิน มันจึงมีความจำเป็นที่เราต้องปรับวิธีคิดที่ว่า Earned นั้นไม่ต้องจ่ายเงิน และข้อนี้เองที่ PR Department ควรได้รับงบประมาณเพิ่ม

Publisher สื่อสารด้วยดิจิทัลเท่านั้นที่จะอยู่รอด

เราทุกคนรู้ดีว่าธุรกิจทางด้านสื่อสารมวลชนนั้นอยู่ได้ด้วยโฆษณา แต่ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารไปทางดิจิทัล โฆษณาจึงต้องตามไปที่ดิจิทัลด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาก็คือรายได้ที่มาจากดิจิทัลมันไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของบริษัทที่มีโครงสร้างแบบดั้งเดิม จึงเป็นเรื่องปกติที่เราเห็นองค์กรสื่อต้องปรับโครงสร้างกันขนานใหญ่ ในขณะเดียวกัน Blogger บางคนที่เก่งกาจพอจะปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นธุรกิจสื่อได้ก็จะมีมากขึ้นในปีนี้ และเมื่อจำนวน Publisher เพิ่มมากขึ้น PR ก็ต้องทำงานหนักขึ้น ค่าใช้จ่ายในการทำงานด้าน Press Relations ก็เพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้

Influencer คืออาชีพใหม่ 

ผมเคยแลกเปลี่ยนกับคุณปี่ ธนิส บุญอ่ำ แห่งบริษัท “จับของร้อน” ก่อนเธอจะเสียชีวิต เธอเคยให้มุมมองว่า Influencer, Blogger, Online Celebrity คืออาชีพที่มีต้นทุน ทุกคนล้วนแล้วแต่มีต้นทุนที่ต้องจัดการ มันจึงต้องมีเรื่องผลตอบแทนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผมเห็นด้วยกับเธอครับ PR บางคนอาจจะมองว่าการจ่ายเงินให้ Influencer นั้นไม่ถูกต้อง แต่ผมมองกลับกันว่ามันไม่ใช่เรื่องเสียหาย มันเป็นเรื่องที่ทำได้ ตราบใดก็ตามที่เราและตัว Influencer เองยังจริงใจ โปร่งใส และบอกกับผู้อ่าน ผู้ชมได้อย่างตรงไปตรงมาว่าเงินไม่ได้มาเปลี่ยนแปลงความคิดทัศนคติของผู้ส่งสาร

บางคนอาจจะคัดค้านแนวคิดนี้เพราะคนที่ได้รับผลประโยชน์ก็พร้อมจะพูดในทางที่แบรนด์อยากให้พูดอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่า Influencer ถ้าไม่หัดบริหารชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ พูดจาเข้าข้างแบรนด์มากเกินไป ผู้คนก็จะเลิกติดตามไปเอง

อีกประการหนึ่งผู้บริโภคสมัยนี้เองก็เข้าใจบทบาทของ Influencer กับแบรนด์อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้บริโภคเขามองว่าคนเหล่านี้คือ tastemaker ที่มา ‘ช่วยลอง’ ว่าสินค้าและบริการนี้ดีและไม่ดีอย่างไร ผู้บริโภคเองต้องไป search หาข้อมูลต่อ สอบถามเพื่อนของตัวเอง และตัดสินใจซื้อด้วยตัวเองอยู่ดี

ดังนั้น PR ในฐานะผู้สร้างสานสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ กับสาธารณชนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ จึงต้องการปัจจัยที่จะมาร่วมงานกับคนที่เป็น Influencer และ tastemaker ทุกคน

งานของ PR คือการจุดประกายบทสนทนาบนโลกออนไลน์

พอพูดถึงการทำประชาสัมพันธ์ หลายๆ คนจะนึกถึง execution อย่างเช่นการทำ Press Release, Press Conference แต่ที่จริงผมเคยเจอ PR ตัวเก่งตัวจริงในวงการมาเยอะ สิ่งที่ทำให้ PR เหล่านี้แตกต่างและโดดเด่นกว่า PR คนอื่นๆ คือความสามารถในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างแบรนด์กับ stakeholders ได้ มันคือการเล่นกับ ‘ทัศนคติ’ ไม่ใช่เพียงส่งสารออกไป

หัวใจในการทำความเข้าใจและปรับทัศนคติก็คือบทสนทนาที่เข้มข้น ซึ่งบทสนทนาที่เข้มข้นในยุคนี้อยู่บนอินเทอร์เน็ต PR ยุคนี้จึงต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหารมากกว่าโครงสร้างงบประมาณเดิมที่เหมาะกับโครงสร้างการทำงานเดิม

Reputation… เพราะเรื่องของชื่อเสียงรอไม่ได้

บทสนทนาบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นได้ทุกวัน ชื่อเสียงขององค์กรก็เสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน เราจำเป็นที่จะต้องหาคนมาบริหารจัดการชื่อเสียงของเราบนโลกออนไลน์ ยิ่งในยุคที่ข่าวร้ายไปไกลกว่าข่าวดี เราก็ต้องการ PR ที่เข้าใจความไวของบทสนทนาดังกล่าว

PR ของคุณต้องการ PR Automation

PR Automation คือเครื่องมือที่ช่วยให้ PR ทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบอีเมล ระบบ Social Analytics แล้วไหนจะต้องปรับให้คนของเราเข้าใจระบบนี้อีก

Digital PR เป็นเรื่องของ Mindset ต้องฝึกอบรม

Digital PR เป็นศาสตร์ใหม่ที่ต้องผสมผสานหลายศาสตร์เข้ามาทำงานร่วมกัน นั่นหมายความว่า เราต้องใช้งบประมาณในการฝึกอบรมอีกมากมาย

แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร มีความคิดเห็นอย่างไร พูดคุยกันนะครับ

 
Source: thumbsup

The post 7 เหตุผลว่าทำไมควรเพิ่มงบประมาณให้แผนก PR ของคุณในยุคดิจิทัล appeared first on thumbsup.

ลุย SME ยุคนี้ ต้องมีความรู้เรื่องการตลาดดิจิทัล สรุปข้อคิดจากงาน คลิกธุรกิจ SMEs สู่ตลาดยุคดิจิทัล

$
0
0

ดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ธุรกิจในยุคนี้จำเป็น โดยเฉพาะการทำการตลาดที่ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นจะต้องรู้และศึกษาถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากความต้องการที่เปลี่ยนไปของคนที่เข้าถึงออนไลน์ได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนยิ่งทำให้เรื่องนี้ถูกยกเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับการทำธุรกิจในทุกระดับ ตั้งแต่เล็กๆ SMEs จนกระทั่งแบรนด์ระดับโลก

ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีว่า Facebook, Instagram, LINE คือสิ่งที่คนใช้กันอยู่แทบทุกวัน หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในการเลือกซื้อสินค้าที่จากเดิมที่เดินห้างกลายมาชอปผ่านหน้าจอมือถือหรือบนคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างล้วนเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับตัวก็มีแต่จะถอยหลัง

ด้วยเหตุนี้ ทาง TMB จึงได้จัดงานสัมมนาการตลาดดิจิทัลในชื่อ “คลิกธุรกิจ SMEs สู่ตลาดดิจิทัล”  โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่ใช้เครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำการตลาดขึ้นมาแชร์และให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำการตลาดและสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำในตอนนี้

พร้อมกัน ภายในงานยังได้แนะนำโมบายล์แอพพลิเคชันในชื่อ TMB Business Touch ถูกออกแบบและนำเอาคุณสมบัติต่างๆ เพื่อเอามาใช้และตอบความต้องการของ SMEs ได้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น

  • ธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะจ่ายหรือโอน ทำได้บนแอป
  • การดูบัญชีต่างๆ ทุกบัญชี ซึ่งรวมไปถึง OD หรือ Over Draft หรือการเบิกเกินบัญชีได้ในหน้าจอเดียว
  • การจ่ายเงินจากวงเงิน OD ได้ผ่านหน้าแอป
  • การโอนเงินที่สามารถเลือกได้ทั้ง โอนเดี่ยว และโอนกลุ่ม กรณีนี้จะเหมาะกับการที่ต้องโอนเงินเดือนให้กับพนักงานหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้ในครั้งเดียว ไม่ต้องทำทีละครั้ง
  • การสั่งอายัดเชคได้ด้วยตัวเอง
  • การดูปฎิทินธุรกรรม พร้อมระบบช่วยจำเมื่อถึงครบกำหนดการทำธุรกรรมทางการเงิน

เรียนรู้มุมคิด พิชิตโอกาสบนตลาดดิจิทัล คือหัวข้อแรกที่มีการพูดคุยกัน คุณป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ TARAD.com และ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, คุณพร ดารีพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (Farm Design Thailand) และคุณรรินทร์ ทองมา กรรมการผู้จัดการ เจ้าของแบรนด์สินค้า O&B

อย่างแรกที่มีการพูดถึงคือช่องทางการเข้าถึงร้านค้า ทุกวันนี้ร้านค้าออนไลน์มีอยู่มากมาย เพราะเขาไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน แค่มีสินค้าที่ต้องการขายและมี Facebook หรือ Instagram ก็สามารถขายสินค้าได้แล้ว หรือแม้กระทั่งในยุคนี้อย่างที่เราเห็นคือการขายของแบบสดๆ หรือ Live กลายเป็นสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เราอาจจะคิดว่ามีการแข่งขันกันสูงจากจำนวนร้าน คุณป้อมบอกว่าการแข่งขันในยุคนี้ไม่ใช่จำนวนร้านที่มีมากขึ้น แต่วิธีเข้าถึงลูกค้าคือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ร้านไหนที่สามารถเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าร้านนั้นย่อมได้เปรียบกว่าร้านที่มีแค่ไม่กี่ช่องทาง แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็คือ ไม่ใช่ว่าเราจะอยู่ไปทุกที่ เราต้องดูว่าสินค้าของเราเหมาะสมกับช่องทางไหนด้วย

คุณพร แห่ง Farm Design มองเรื่องหลักการสร้างแบรนด์และขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ควรจะทำให้น่าสนใจและเป็นที่จดจำ รวมทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกลับมายังแบรนด์ได้เสมอ และเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ร้านชีสเค้กนี้มีชื่อเสียงได้จากการทำการตลาดดิจิทัลก็คือ การที่องค์กรขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ ทำให้ตอบสิ่งที่เขาต้องการได้ตรงจุด

ส่วนคุณรรินทร์ เจ้าของแบรนด์สินค้า O&B มองถึงการสร้างเนื้อหาหรือ Content บนโลกออนไลน์ ต้องศึกษาไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรก ส่วนการสื่อสารจะต้องคิดไปถึงว่าจะต้องทำตลอดปีและตลอดไป ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเชื่อให้กับลูกค้า รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการซื้ออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวแบรนด์เองก็ต้องมีบริการที่ดีด้วย ซึ่ง O&B เองเป็นสินค้าในกลุ่มแฟชั่น ต้องมีบริการหลังการขายที่ดีและรวดเร็ว ทั้งหมดนี้จะทำให้คนที่สนใจกลายเป็นลูกค้า และกลายเป็นแฟนคลับของแบรนด์ในที่สุด

อีกหัวข้อที่มีการพูดคุยกันคือ เจาะลึกเทคนิค แจ้งเกิดตลาดออนไลน์ โดยคุณบุรินทร์ เกล็ดมณี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด และ คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล และเจ้าของเว็บไซต์การตลาด nuttaputch.com

คุณบุรินทร์เน้นถึงการทำการตลาดดิจิทัลในยุคนี้จะต้องมองให้ออกว่าใครคือลูกค้าของเรา แล้วเขาอยู่ตรงไหนอยู่บนโลกออนไลน์ ข้อมูลที่ได้เรารู้ว่า เราควรจะวิ่งไปหาเขาอย่างไร, แบบไหน และที่ไหน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าเห็นข้อมูลในที่ๆ เหมาะสมและถูกเวลา ซึ่งก็หมายความว่าเราสามารถปิดการขายได้ทันทีที่เขาเห็น

ส่วนคุณณัฐพัชญ์พูดถึงเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำหน้า ที่ผู้ประกอบการหลายคนกังวลในเรื่องนี้ แต่เอาเข้าจริง เทคโนโลยีมันคือกับดักอย่างหนึ่งที่เราอาจจะหลงไปกับมัน สิ่งที่จะทำให้การทำการตลาดออนไลน์จริงๆ คือการนึกถึงลูกค้าเป็นสิ่งแรก ไม่ใช่นึกถึงเทคโนโลยี การเข้าใจพฤติกรรมของคนในยุคดิจิทัลคือสิ่งสำคัญที่สุด ถึงคุณจะใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่คุณไม่เข้าใจว่าคนที่เราต้องการให้เป็นลูกค้านั้นเป็นอย่างไรบนดิจิทัล คุณก็ไม่สามารถขายของได้เลย

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้ง่ายๆ จากงานสัมมนาในหัวข้อนี้ก็คือ การทำความเข้าใจถึงความเป็นไปของคนให้ถ่องแท้ว่าแท้จริงเขาต้องการอะไร, เราจะสามารถเข้าไปช่วยเขาได้อย่างไรเป็นสำคัญ และการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์โดยเอาเครื่องมือดิจิทัลที่เอามาช่วยในการทำการตลาด ซึ่งถ้ามันใช้ถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา ธุรกิจของคุณก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วกว่าคนที่มีเครื่องมือแล้วใช้อย่างไร้ความเข้าใจ

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post ลุย SME ยุคนี้ ต้องมีความรู้เรื่องการตลาดดิจิทัล สรุปข้อคิดจากงาน คลิกธุรกิจ SMEs สู่ตลาดยุคดิจิทัล appeared first on thumbsup.

เจาะ 5 Marketplace สุดฮอตที่ต้องรีบหาของไปลงขาย

$
0
0

อาจเพราะหนึ่งในตลาดที่กำลังอินเทรนด์ของปีนี้ถูกชี้มาแล้วว่าเป็น “E-Commerce” โดยสังเกตได้ว่าภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Logistics, e-Payment, Mobile-banking ฯลฯ ต่างก็เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมารับกระแสดังกล่าวกันแทบไม่เว้นวัน ซึ่งกระแสที่กำลังมานี้นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีของดีในมือให้ขายได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นตัวสนับสนุนให้ตลาด E-Commerce ไทยมีความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อม ๆ กันด้วย

แต่ในภาพของการเติบโตนี้ สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์พบก็คือ คำถามที่ว่า แล้วเราจะเลือกขายบนแพลตฟอร์มไหนดี? วันนี้ ทีมงาน Thumbsup จึงขอรวบรวม Marketplace ที่กำลังได้รับความนิยมมาฝากกัน จะมีแพลตฟอร์มใดบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ

11street

นาทีนี้อาจต้องยกชื่อของ 11street ขึ้นมาก่อนใคร เพราะถือเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงกับสโลแกน Your Everyday Marketplace หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่่ผ่านมา ที่สำคัญ 11street เลือกที่จะดึงดูดนักช้อปเข้าหาแพลตฟอร์มด้วยโปรโมชันดี ๆ อย่างต่อเนื่อง แถมยังได้ดาราระดับแม่เหล็กอย่าง “ซงจุงกิ” และ “มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์เพื่อให้เข้าถึงใจผู้บริโภคด้วย

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งสำหรับ 11street ก็คือการตั้งแคมปัสสองแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์บริการครบวงจรสำหรับผู้ขาย และมีการร่วมมือกับพันธมิตรมากมาย เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry Express รวมถึงธนาคารของไทยในด้านการชำระเงิน ขณะที่ช่องทางการเข้าถึง 11street ก็มีหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ www.11street.co.th , แอปพลิเคชัน 11street Thailand, www.facebook.com/11street.TH/ และ www.instagram.com/11streetth

Facebook

จากยอดผู้ใช้งาน Facebook ที่ปัจจุบันแตะ 1.8 พันล้านคน คงต้องยอมรับว่าตลาดนี้น่าดึงดูดใจมาก แถมจากสถิติ การใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ก็ไปอยู่บนโลก Social Media อย่าง Facebook แล้วเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ (อ้างอิงจาก WeAreSocial) ซึ่งหลายคนเจอสถิติเหล่านี้เข้าไปก็ต้องมีแอบคิดบ้างล่ะว่า ใคร ๆ ก็เปิดร้านขายของบน Facebook กันหมดถ้าเช่นนั้น ก็ลองขายดูบ้างดีกว่า

ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า การเปิดร้านบน Facebook นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง และที่สำคัญคือมีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ ให้เราได้ทดลองใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นการฝึกฝน และทำให้พ่อค้าแม่ขายได้ขวนขวายหาความรู้ไปในตัวค่ะ

Lazada

หลังจากถูก Alibaba ควบกิจการไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนกลายเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลก มาถึงวันนี้คงต้องยอมรับว่าแพลตฟอร์มอย่าง Lazada นั้นน่าสนใจมากกว่าเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อต่างประเทศที่ยกให้ Lazada เป็น Marketplace online ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง และมีสินค้ามากมายหลายชนิด ซึ่งเป็นตัวดึงดูดนักช้อปให้เข้ามาในแพลตฟอร์มได้เป็นอย่างดี แถมการร่วมทุนกับ Alibaba ยังช่วยให้ Lazada พัฒนาแพลตฟอร์มและบริการได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Alibaba มีความเชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเติบโตของ Lazada ในอนาคตนั่นเอง

Instagram

ในฐานะแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานกว่า 600 ล้านคนทั่วโลก Instagram ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Marketplace ที่มีความแข็งแกร่งพอตัวทีเดียว

LnwShop

สุดท้ายกับ LnwShop ที่เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งซึ่งมีร้านค้าให้เราเลือกซื้อได้มากมายหลายหมวดหลายไอเท็ม โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็ต้องบอกว่า LnwShop มีบริการต่าง ๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ไม่แพ้เว็บอื่นเลยทีเดียว เช่น ช่วยโปรโมตสินค้าออนไลน์ อัปรูปอัปข้อมูลต่าง ๆ บริการแชทกับลูกค้า ฯลฯ รวมถึงบริการ My App ที่ช่วยสร้างแอปพลิเคชันสำหรับร้านค้าให้เสร็จสรรพ กลายเป็นแอปพลิเคชันแบบ Standalone บน Android และ iOS ซึ่งเท่ากับว่าไม่ต้องไปแข่งบน Marketplace ของ LnwShop กับร้านอื่น ๆ อีกนับแสนแห่ง ที่สำคัญแอปพลิเคชันนี้ ยังเปิดให้ลูกค้าได้เลือกชมสินค้า ดูสินค้าแนะนำ สินค้าขายดี ระบบตะกร้าสินค้า สั่งซื้อพร้อมชำระเงินผ่านออนไลน์ ผ่านบัตรเครดิต หรือการชำระเงินผ่านธนาคาร โต้ตอบกระทู้บนเว็บบอร์ด ฝากข้อความ หรือจะตรวจสอบสถานะรายการสั่งซื้อ (สำหรับลูกค้า) ก็ได้ทั้งหมด

สำหรับใครที่ได้แพลตฟอร์มในใจแล้ว งานต่อไปเป็นเรื่องของการลงมือทำแล้วล่ะค่ะ ซึ่งนอกจากวิธีการเปิดร้านบน Marketplace สุดฮอตทั้ง 5 แพลตฟอร์มตามที่เรานำมาฝากกันแล้ว เรื่องของการขาย ก็เป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน สำหรับใครที่สนใจสร้างคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขายให้ดียิ่งขึ้น อยากให้ลองคลิกเข้าไปอ่านเรื่องนี้ดูค่ะ “ขายของ online ให้เด่นด้วยวิธีทำ Content Marketing สไตล์ญี่ปุ่น” อ่านจบแล้ว ทดลองแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร แวะมาบอกเล่ากันบ้างนะคะ 🙂

ส่วนท่านใดที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ลองชมคลิปวีดิโอดีๆ จาก Krungsri Guru กันก่อนก็ดีค่ะ เพราะเป็นเทคนิคที่บอกว่าลงทุนอย่างไรให้เสี่ยงน้อยหน่อยนั่นเอง

แหล่งข้อมูล: WeAreSocial

 
Source: thumbsup

The post เจาะ 5 Marketplace สุดฮอตที่ต้องรีบหาของไปลงขาย appeared first on thumbsup.

Sharpener Digital 2017 หลักสูตรสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ที่จะทำให้คุณเข้าใจโลกดิจิตอลมากขึ้น

$
0
0

Sharpener Digital 2017 หลักสูตรสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ที่จะทำให้คุณเข้าใจโลกดิจิตอลมากขึ้น ทุกคอร์สจะได้เริ่มต้นเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานการวางกลยุทธ การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม การนำไปปฏิบัติ และการวัดผล พร้อมทั้งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ทำให้คุณสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียน ในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์รวมถึงศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร โดยเรียนรู้จากตัวจริงเสียงจริงที่มีประสบการณ์ตรงในแต่ละด้าน

 

กลับมาอีกครั้ง Sharpener Digital 2017 หลักสูตรสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ในยุคของ Digital Transformation เราขยายเนื้อหาหลักสูตรออกไปไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของการตลาดอย่างเดียว อาทิเช่น Corporate Innovation, Design Driven Innovation, Lean User Experience, Digital Transformation

ในทุกแง่มุม ทุกคอร์สจะได้เริ่มต้นเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานการวางกลยุทธการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม การนำไปปฏิบัติ และการวัดผล พร้อมทั้งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ทำให้คุณสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียน ในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์รวมถึงศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร โดยเรียนรู้จากตัวจริงเสียงจริงที่มีประสบการณ์ตรงในแต่ละด้าน

โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 11 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่

กลุ่มที่ 1

  • Digital Marketing Strategy Ensemble – กลยุทธ์ คือหัวใจสำคัญของทุกๆ สงคราม ในโลกยุคปัจจุบัน ดิจิตอลถือเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง คอร์สนี้จะสอนให้คุณเรียนรู้และทำความเข้าใจการวางแผนกลยุทธ์การตลาดโดยใช้ เครื่องมือ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเอาชนะใจผู้บริโภคโดยการสร้างสรรค์ประสบการณ์ในโลกดิจิตอล
  • Digital Transformation – ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ผ่านทางกรณีศึกษาของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ในการปรับเปลี่ยนองค์กร ระบบการทำงาน วิธีการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกนอกจากนี้ยังพบกับแขกรับเชิญทั้งจากฟากเทคโนโลยีและจากบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการทำ digital transformation ในแง่มุมต่างๆ ที่จะมาร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ตรงในคลาสนี้

กลุ่มที่ 2

  • Know Your Digital Customers -ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์การตลาด จากการเริ่มต้น ตั้งเป้าหมาย รวมถึงเรียนรุ้ วิเคราะห์ สิ่งที่อยู่ในใจผู้บริโภค จากเครื่องมือดิจิตอลต่างๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของลูกค้าบนโลกดิจิตอล เชื่อมโยงกับโลกจริง รวมถึงการขัดเกลากลยุทธ์ทางการตลาดดิจิตอลของแผนการตลาดของคุณ พร้อมด้วยตัวอย่างจากหลายอุตสาหกรรมที่จะทำให้คุณทำความเข้าใจและวางแผนกลุยุทธ์ทางการตลาดให้กลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • Digital Campaign with SEM –  เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการซื้อสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละธุรกิจต้องแข่งขันช่วงชิงพื้นที่ในหน้าแรกของการแสดงผลการค้นหา อันดับต้นๆของการค้นหา จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจให้กับแบรนด์ของคุณและที่สำคัญคือการเพิ่มโอกาสที่จะสร้างยอดขายให้กับธุรกิจของคุณ ในการอบรมครั้งนี้คุณจะได้เรียนรู้ตั้งแต่หลักสูตรพื้นฐาน เทคนิคและวิธีที่จะอยู่เหนือคู่แข่ง รวมทั้งอัพเดทเทรนด์ต่าง ๆ ที่จะช่วยคุณประสบความสำเร็จในการทำการตลาดบนเว็บค้นหาที่เป็นที่นิยมอย่าง Google
  • Digital Analytics – เรียนรู้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีต่อเว็บไซต์ และสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้ง Paid/Owned และ Earned Media เพิ่มเทคนิคการปรับใช้ และวัดผลพิเศษเจาะลึกหลากหลายมิติของธุรกิจ ทั้งจาก Google Analytics, Facebook Insights, Ads Manager, Social Listening พร้อมกับอัพเดตเทคโนโลยีใหม่อย่าง Chatbots สำหรับลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ

กลุ่มที่ 3

  • Social Media Management – ผู้บริโภคในปัจจุบันบริโภคข้อมูลข่าวสารจาก Social Media มากขึ้น ทำให้แบรนด์ต้องหันมาปรับตัวเริ่มใช้สื่อที่ร้อนแรงชนิดนี้เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค แต่การใช้สื่อ Social Media ให้เข้าถึงผู้บริโภคนั้น มีความแตกต่างจากการใช้สื่อในรูปแบบเดิมๆ ที่ผู้บริโภคมีหลากหลายบทบาทในการสื่อสาร และดูเหมือนยากที่จะควบคุมความรู้สึกและความคิดของผู้บริโภคทั้งด้านบวกและด้านลบ ในการสัมมนานี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการบริหาร Social Media ด้วยวิธีการสร้าง Content ที่มีคุณค่า การออกแบบ Brand Storytelling เพื่อให้แบรนด์สามารถสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค บนโลก Social Media อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิธีการจัดการวิกฤติบนโลกออนไลน์
  • Online Reputation & Workshops – ในยุคที่ลูกค้ามีมือถือที่สามารถร้องเรียนแบรนด์บนโลกโซเชียลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชื่อเสียงของแบรนด์จึงตกอยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลา เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น แบรนด์จะทำอย่างไรเพื่อควบคุมความเสียหายให้น้อยที่สุด ดีกว่านั้นคือพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เปลี่ยนเสียงก่นด่าให้เป็นคำชื่นชม ดีที่สุดคือทำให้ผู้บริโภครักแบรนด์และพร้อมจะปกป้องเมื่อเกิดวิกฤต
  • Influencer Marketing – เรียนรู้การทำการตลาดออนไลน์ผ่านคนดัง (Influencer Marketing) อาทิเช่น ดารา นักรีวิว บล็อกเกอร์ เน็ตไอดอล เป็นต้น เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ บริการ สร้างการรับรู้ในแบรนด์ ไปจนถึงการสร้างยอดขาย

กลุ่มที่ 4

  • Lean User Experience – ใน workshop นี้เราทำให้รู้เข้ากระดูกดำ ว่าการเดาผู้ใช้เองมีความเสี่ยงขนาดไหน การรู้จักผู้ใช้ไม่ใช่การรู้ผิวเผินแต่ต้องรู้จักผู้ใช้ของเราให้มากกว่าที่เค้าเข้าใจตัวเอง ต้องเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ไม่ใช่รู้แค่สิ่งที่เค้าร้องขอ เข้าใจว่าเราทำเพื่อบางคน ไม่ใช่ทุกคน (persona) เข้าใจที่มาที่ไปของเค้า ไม่ใช่รู้แต่ตอนที่อยู่กับเรา (user Journey)ใน workshop เราจะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ผ่านการลงมือทำ โดยใช้ธุรกิจของเราเป็นโจทย์ครับ
  • Corporate Innovation – องค์กรขนาดใหญ่กำลังประสบกับความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อเทคโนโลยีที่ไหลบ่าเข้ามาส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจที่เป็นอยู่ ถึงเวลาของการปรับตัวเพื่อให้ยังคงรักษาสถานะการเป็นผู้นำในตลาด และ สามารถร่วมมือกับผู้เล่นรายย่อย อาทิเช่น Tech Startup ได้
  • Design-Driven Innovation – (สอนเป็นภาษาอังกฤษ)  In this course, we’ll work together to make the abstract practical. We’ll start by considering the origin of design thinking as well as its relative strengths and weaknesses; when to use it and why, as well as what actually makes it work (hint: it’s all about communication). With a solid foundation to stand on, we’ll then unpack each of Design Thinking’s 5 steps: Emphasize, Define, Ideate, Prototype, and Test. And for each step, we’ll let practice make perfect and test drive techniques like journey mapping, Jobs-to-be-done, post-ups, and design studios. Designed as an overview, this course will give us the foundation and the toolset with which to set up and run Design Thinking workshops within our respective organizations.

 สำรองที่นั่งได้แล้วที่นี่

กำหนดการ

ค่าใช้จ่ายการอบรม

  • วิชาละ 10,000 THB/seat (Not included VAT) Document + Lunch +2 Breaks
  • รวมกลุ่มหลักสูตร ราคาสุดคุ้ม มีกลุ่มหลักสูตร ดังนี้
    • Group 1    18,000 THB/seat (Not included VAT)    2 Topics
      • Digital Marketing Strategy Ensemble
      • Digital Transformation
    • Group 2    27,000 THB/seat (Not included VAT)    3 Topics
      • Know your Digi Customers
      • Enhance your Digital Campaign with Search Engine Marketing
      • Digital Analytics
    • Group 3    27,000 THB/seat (Not included VAT)    3 Topics
      • Social Media Management
      • Online Reputation Management Strategies & Workshop
      • Influencer Marketing
    • Group 4    27,000 THB/seat (Not included VAT)    3 Topics
      • Lean User Experience
      • Corporate Innovation
      • Design-Driven Innovation

สำรองที่นั่งได้แล้วที่นี่
รายละเอียดเพิ่มเติม

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post Sharpener Digital 2017 หลักสูตรสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ที่จะทำให้คุณเข้าใจโลกดิจิตอลมากขึ้น appeared first on thumbsup.

ทีเอ็มบี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ บุญรอดบริวเวอรี่ และเอสแอนด์พี จัดทัพให้ความรู้เอสเอ็มอี มุ่งสู่การเป็นครัวของโลก

$
0
0

ทีเอ็มบีมองตลาดอาหารและเครื่องดื่มไทยมีแนวโน้มสดใส ใกล้เป้าหมาย  “ครัวไทยสู่ครัวโลก” แน่นอน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดเครือข่ายซัพพลายเชน  ล่าสุดจับมือผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม  ได้แก่  ไทยเพรซิเด้นท์ฟูดส์
บุญรอดบริวเวอรี่ และเอสแอนด์พี เตรียมหลักสูตรพิเศษติวเข้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในโครงการ  Lean Supply Chain by TMB รุ่นที่ 10  อบรมฟรี

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยมีแนวโน้มที่สดใส  ปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมอาหารอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีมูลค่า 0.4 ล้านล้านบาท และประเทศไทยยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกอาหารติดอันดับ 1 ของโลกในหลายรายการ  ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายผลักดัน “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจเติบโต ในฐานะสถาบันการเงินซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ มองว่าปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ ต้นทุนของผู้ประกอบการ

ปัจจุบันต้นทุนของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 81% ซึ่งหากบริหารสัดส่วนตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและการตลาดไปพร้อมกัน ทีเอ็มบีจึงพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยระบบ LEAN ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่องค์กรชั้นนำนิยมนำมาใช้ ที่ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจได้ตลอดทั้งซัพพลายเชน โดยการเชื่อมโยงการทำงานของผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หากทุกกลไกได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จะทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่ารายเล็ก-รายใหญ่ในระบบซัพพลายเซน Win-Win ด้วยกันทั้งหมด”

นายไตรรงค์ บุตรากาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี กล่าวว่า ทีเอ็มบีได้จัดโครงการ Lean Supply Chain by TMB มาแล้วจำนวน 9 รุ่น สนับสนุนให้ SME เพิ่มประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านเทคนิค Lean Six Sigma รวมทั้งต่อยอดและสร้างผลลัพธ์ในเชิงธุรกิจได้จริง ส่งผลให้ SME สามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่งแม้ในภาวะการแข่งขันที่สูง และสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สำเร็จหลักสูตร Green Belt จำนวน 52 โครงการ ได้นำความรู้ไปปฏิบัติจริง สามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้รวมกว่า 560 ล้านบาท และในปีนี้ได้เปิดอบรม เป็นรุ่นที่ 10 รับผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด  และบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) มาร่วมให้องค์ความรู้และแชร์ประสบการณ์ให้กับผู้เข้าอบรมด้วย

หนึ่งในองค์กรบริษัทชั้นนำที่มองเห็นความสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยระบบ LEAN  คือ บริษัท
ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
 ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ‘มาม่า’ โดย นายพจน์ พะเนียงเวทย์ กรรมการรองผู้อำนวยการ เล็งเห็นว่าการหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพตลอดทั้งซัพพลายเชน ย่อมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิผลอย่างมหาศาลกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพที่ทำกันเองภายในแต่ละบริษัท หากทุกภาคส่วนเข้าใจตรงกันในหลักการ และปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน จะสามารถต่อยอดธุรกิจกับผู้ประกอบการในเครือข่ายเดียวกันได้ง่ายขึ้น”

นายธีรยุทธ รัตน์พงษ์โสภิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีโอลิ้งค จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

กล่าวว่า “ความสำเร็จของบริษัทตลอดระยะเวลา 84 ปี ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่บริษัทให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพแบบองค์รวมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมองว่าซัพพลายเออร์ไม่ใช่เพียงแค่คู่ค้า แต่เปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกันที่ก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน โดยกลยุทธ์สำคัญคือ การสร้าง Community ที่เหนียวแน่นระหว่างองค์กรและคู่ค้า”

นายวิทูร ศิลาอ่อน กรรมการผู้จัดการใหญ่สายปฏิบัติการและบุคคล บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) มองว่าด้วยทิศทางของบริษัทมุ่งมั่นขยายสาขาในรูปแบบร้านอาหารมากขึ้น บริษัทฯ จึงใส่ใจบริหารจัดการซัพพลายเออร์ให้สามารถจัดหาวัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งขนส่งสินค้าด้วยความรวดเร็วไปยังร้านสาขาได้ทันเวลา ทั้งนี้ การมีซัพพลายเชนที่ดีถือเป็นแต้มต่อที่ช่วยให้เราสามารถรักษาคุณภาพสินค้า และส่งมอบมาตรฐานความอร่อย เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากแบรนด์ ‘เอส แอนด์ พี’”

สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่สนใจสามารถสมัครได้ทาง www.tmbbank.com/business จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2560 โดยเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนจำกัด และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรมแต่อย่างใด  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 087-575-7000 หรือ 02-299-1855 

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post ทีเอ็มบี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ บุญรอดบริวเวอรี่ และเอสแอนด์พี จัดทัพให้ความรู้เอสเอ็มอี มุ่งสู่การเป็นครัวของโลก appeared first on thumbsup.

เอสเอ็มอีผูกบัญชีพร้อมเพย์กับ ทีเอ็มบี ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนพร้อมเพย์ไม่จำกัดจำนวนครั้งทั้งปี

$
0
0

ปกติ SME เองมักจะมีปัญหาและปวดหัวกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร ด้วยความยุ่งยากและค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น ยิ่งทำให้ต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นไม่แน่นอน แต่นี่คือข่าวดี เพราะทาง TMB มีบริการ Promptpay สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างมากมาย

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) เดินหน้าต่อยอดให้เอสเอ็มอีได้รับประโยชน์เต็มที่จากนโยบาย National e-Payment ด้วยแคมเปญพิเศษ “คุ้มทั้งรับจ่าย ค้าขายคล่องตัว” ที่ช่วยลดขั้นตอน และลดต้นทุนได้อย่างแท้จริง เมื่อผู้ประกอบการผูกบัญชีพร้อมเพย์นิติบุคคลกับทีเอ็มบี จะได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนพร้อมเพย์ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560 และยังประหยัดอีก 2 ต่อ ต่อแรกเมื่อผูกบัญชีพร้อมเพย์กับ บัญชีเพื่อธุรกิจ TMB SME One Bank ฟรีค่าธรรมเนียมรายปีๆ แรก 500 บาท และต่อที่สอง สามารถ โอน รับ จ่าย ข้ามเขต ข้ามธนาคาร ฟรี! เมื่อใช้ทำธุรกรรมผ่าน TMB Business CLICK และ TMB Business Touch

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME โทร. 02-828-2828 ทุกวันจันทร์ – เสาร์ ยกเว้นวันหยุดธนาคาร

บทความนี้เป็น advertorial

 
Source: thumbsup

The post เอสเอ็มอีผูกบัญชีพร้อมเพย์กับ ทีเอ็มบี ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนพร้อมเพย์ไม่จำกัดจำนวนครั้งทั้งปี appeared first on thumbsup.

ฝีมือคนไทย “Niceloop” ระบบจัดการร้านอาหารขนาดกลางและเล็กในราคาย่อมเยา

$
0
0

หากเป็นธุรกิจร้านอาหารตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป การให้พนักงานรับออเดอร์ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสมาร์ทโฟน คงเป็นเรื่องปกติธรรมดา และเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังได้ว่า ธุรกิจจะนำมาใช้เพื่อควบคุมต้นทุน

ตรงกันข้ามกับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านเบเกอรี่ ร้านอาหารทั่วไป หรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน ที่ผู้บริโภคน้อยรายจะคาดหวังให้ร้านค้าเหล่านี้รับออเดอร์ด้วยระบบไฮเทค และโดยมากก็มักเป็นการรับออเดอร์โดยการจดกระดาษ ซึ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาด หรือการฉ้อโกงได้ง่าย ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว การที่พนักงานร้านก๋วยเตี๋ยวถือสมาร์ทโฟนเข้ามารับออเดอร์ อาจกลายเป็นเรื่อง “WOW” ที่สามารถสร้างจุดขายด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของร้านได้ดีพอตัว แถมในมุมของเจ้าของกิจการและผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในด้านความถูกต้องของข้อมูล และช่วยลดปัญหาด้านการโกงบิลได้โดยง่ายอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ปัญหานั้นได้มีคนมองเห็น ก่อนจะพลิกมันมาเป็นโอกาสในการสร้างตลาดใหม่ ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านอาหารสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ในชื่อ “Niceloop” โดยผู้บริหารหนุ่ม คุณวริทธิ์ ตันติวีระสุต ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท Niceloop จำกัด นั่นเอง โดยคุณวริทธิ์เล่าว่า

“ส่วนตัวผมชอบเขียนโปรแกรม แต่เป็นการศึกษาเองจากคอร์สออนไลน์บ้าง จาก YouTube บ้าง ซึ่งที่ผ่านมาก็ใช้ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาพัฒนาสายการผลิต (Line Production) หรือการ Tracking พนักงานให้กับธุรกิจของครอบครัวผมเอง (โรงสีข้าว)”

คุณวริทธิ์ ตันติวีระสุต ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท Niceloop จำกัด

อยู่มาวันหนึ่ง คุณวริทธิ์เล่าว่า ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารญี่ปุ่น และเห็นพนักงานรับออเดอร์ด้วยอุปกรณ์มือถือ ก็เลยกลับมานั่งคิดว่า เราก็น่าจะทำได้เช่นกัน ประกอบกับมีเพื่อนคนหนึ่งก็อยากเปิดธุรกิจร้านอาหาร แต่ภายหลังที่ได้ลองสอบถามราคาของระบบที่มีอยู่ในท้องตลาดแล้ว พบว่า แพงมาก จึงมาขอความช่วยเหลือ ทางคุณวริทธิ์จึงลองพัฒนาระบบดู โดยชวนคุณวรุฒม์ รัตนาภรณ์ (Co-founder) ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ของธุรกิจที่บ้านมาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วย และใช้เวลา 3 – 4 เดือนช่วยกันพัฒนาจนสำเร็จในเวอร์ชั่นแรก ซึ่งสามารถใช้งานได้เป็นที่น่าพอใจ และนั่นทำให้เขาเห็นช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการสำหรับร้านอาหารขนาดกลางและเล็ก ที่ต้องการราคาย่อมเยาเป็นสำคัญ ขณะที่ความสามารถนั้นก็ต้องทำได้ใกล้เคียงเครือร้านอาหาร (Restaurant Chain) ขนาดใหญ่ เช่น สามารถแสดงรายการสินค้า – เช็คบิลได้อย่างรวดเร็ว ใส่ส่วนลดได้ ดูประวัติการสั่งย้อนหลังของโต๊ะนั้น ๆ ได้ รววมทั้ง สามารถแยกรายการอาหารไปที่ครัว รายการเครื่องดื่มไปที่บาร์น้ำได้ เป็นต้น

โมเดลการขายของ Niceloop นั้นเป็นรูปแบบ Subscription คือ จ่ายเป็นรายเดือน (590, 890 หรือ 1390 บาทต่อเดือน) โดยเลือกทำตลาดผ่าน Google และ Facebook เป็นสำคัญ เมื่อมีลูกค้าติดต่อเข้ามา ทีมงานก็จะออกไปสาธิตวิธีการใช้งาน พร้อมติดตั้งเครื่องให้ ซึ่งในปีแรก สามารถสร้างฐานลูกค้าได้ประมาณ 40 ราย ก่อนจะเขยิบขึ้นเป็นหลักร้อยรายในปีที่สอง และสามร้อยกว่ารายในปัจจุบัน

“กลุ่มเป้าหมายเราเป็นร้านอาหารขนาดกลางและเล็ก ซึ่งร้านเหล่านี้มีระบบไม่ซับซ้อน แต่เขาก็ต้องการตัวช่วยด้านการบริหารจัดการไม่ต่างจากร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ ๆ ซึ่งเมื่อมีระบบบริหารจัดการที่ดีและรวดเร็ว เจ้าของร้านก็จะรู้ได้โดยง่ายว่า ในแต่ละวันยอดขายเป็นอย่างไร เมนูใดบ้างที่ขายดี วัตถุดิบเป็นอย่างไร การเคลียร์โต๊ะเรียบร้อยไหม ซึ่งทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ผ่านรีพอร์ตที่ระบบเตรียมให้นั่นเอง”

ทั้งนี้ คุณวริทธิ์ได้วิเคราะห์ถึงเหตุที่ธุรกิจเติบโตได้สูงนั้น อาจเป็นเพราะการเลือกอิงกับระบบการใช้งานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (WebApp) และ Android เนื่องจากร้านอาหารส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีโน้ตบุ๊กที่ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนสมาร์ทโฟน และแอนดรอยด์ก็เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพงนัก บางเครื่องมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทเท่านั้น ซึ่งสำหรับร้านอาหารแล้ว ถือเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากจนเกินจะรับไหว

อีกสิ่งหนึ่งที่นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจ คือ การขยายทีมงาน โดยในจุดนี้ คุณวริทธิ์ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัป นั่นคือ สตาร์ทอัปเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างเติบโตไว และปัญหาด้านเงินทุนจะเข้ามาในช่วงปีที่ 1 – 2 ของการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่เงื่อนไขการกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปนั้นไม่รองรับในจุดนี้ เพราะในเอกสารการขอกู้มักระบุว่า ต้องประกอบธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปีแทบทั้งสิ้น จึงทำให้สตาร์ทอัปหลาย ๆ รายประสบปัญหาด้านการเงิน และต้องปิดกิจการไปในที่สุด

คุณวริทธิ์เล่าว่า ได้สินเชื่อ GSB SMEs StartUP จากธนาคารออมสินช่วยธุรกิจเอาไว้ได้ทันเวลา ซึ่งทางธนาคารก็ยินยอมอนุมัติสินเชื่อให้ แม้จะประกอบธุรกิจมาไม่ถึง 2 ปี จึงสามารถเพิ่มทีมงานจากที่ทำคนเดียวเป็น 6 คน และผลักดันจนปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 300 รายได้ในที่สุด

ในยุคที่ความรวดเร็วเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ให้เท่าเทียมกันได้นั้น ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจที่แม้จะเข้าถึงความรวดเร็วนั้นได้แล้ว แต่ก็ยังขาดเครื่องมือ เงินทุน หรือองค์ความรู้เพื่อเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้อยู่เช่นกัน ดังนั้นอาจเป็นการดีกว่า หากจะศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ เอาไว้เสมอ ซึ่งท่านที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ GSB MONEY TREND บล็อกด้านการเงินและการลงทุนจากธนาคารออมสิน

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post ฝีมือคนไทย “Niceloop” ระบบจัดการร้านอาหารขนาดกลางและเล็กในราคาย่อมเยา appeared first on thumbsup.


เจาะกลยุทธ์ Gen M สร้างความมั่งคั่งอย่างไรให้รอบด้านในยุค Digital Disruption

$
0
0

สำหรับนักการตลาดแล้ว ชาวเจเนอเรชั่น Millennials หรือ Gen M เป็นคนอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจ และมีความสำคัญต่อนักการตลาดในยุคต่อไปเป็นอย่างมาก เพราะแน่นอนว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า  เงินที่มีอยู่บนโลก “ครึ่งหนึ่ง” จะถูกโอนย้ายไปอยู่ในมือของคน Gen M  ไม่ว่าจะมาจากทรัพย์มรดก หรือการสร้างตัวด้วยตนเองก็ตาม

โดยจากข้อมูล Demographic ของชาว Gen M นั้นคือผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2532 – 2538 ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 14% ของประชากรในประเทศไทย และถูกจัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานเครือข่ายโทรคมนาคมแทบจะตลอดเวลา โดยชาว Gen M มักเป็นกลุ่มที่อินเทรนด์ ดูดีมีสไตล์ กล้าคิดกล้าทำ ขณะที่มุมมองด้านการตลาด ชาว Gen M จะเป็นผู้ที่ชอบแสดงตัวตน มีความคุ้นเคยกับแบรนด์ต่าง ๆ สูง ไม่อยากซ้ำใคร ชอบแชท  และอยู่บนโลกออนไลน์เป็นส่วนมาก

จากไลฟ์สไตล์ของชาว Gen M ดังที่กล่าวมานี้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายชาว Gen M นั่นก็คือยุคแห่งการ Disruption โดยเทคโนโลยีดิจิทัล ดังจะเห็นได้จากการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการสร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็แย่งชิงอาชีพและแหล่งรายได้ของมนุษย์ไปด้วย

ดังนั้น อาจเป็นการดีกว่า หากชาว Gen M จะได้รับการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ เพื่อให้สามารถรับมือกับยุคแห่ง Digital Disruption ได้ และมีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดูแลบริหารจัดการ “เงิน” ได้อย่างชาญฉลาด

นั่นจึงนำไปสู่การจัดฟอรัมพิเศษ “Millionaire Millennials – สร้างธุรกิจให้มั่งคั่งด้วยพลังคนยุค Gen M” โดย  Krungsri GURU ที่รวบรวมกูรูในสาขาต่าง ๆ มาพูดคุยกันอย่างถึงแก่น นำทีมโดย

  • คุณฐากร ปิยะพันธ์ กูรูด้านนวัตกรรมและประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • คุณวี สืบศักดิ์ ลิ่วรัตน์ กูรูด้านดิจิทัล และเจ้าของธุรกิจออนไลน์ชื่อดังของไทย
  • คุณพรทิพย์ กองชุน กูรูด้านการลงทุน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Jitta.com

คุณฐากร ปิยะพันธ์

โดยในด้านการลงทุนนั้น คุณฐากรเผยว่าหนึ่งในเทรนด์ที่กำลังมาและจะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับชาว Gen M และนักลงทุนในยุค Disruptionนี้ก็คือ Robo-Advisor ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้คำแนะนำด้านการลงทุนแก่เจ้าหน้าที่ของธนาคาร รวมถึงลูกค้า เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Robo-Advisor สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ และประมวลผลออกมาว่าควรลงทุนแบบใดจึงจะตอบโจทย์ความต้องการสูงสุดของลูกค้าได้ เช่น อาจแนะนำให้เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนไปสู่การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดิม เป็นต้น

เมื่อมาผนวกกับพฤติกรรมด้านการลงทุนของชาว Gen M ที่คุณพรทิพย์ กองชุน กูรูด้านการลงทุนจากเว็บไซต์ Jitta.com เปิดเผยว่า ชาว Gen M เห็นการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญและใกล้ตัวมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่เติบโตมากับเทคโนโลยี จนทำให้บางครั้งเขาอาจเชื่อมั่นในเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกันเองนั้น ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงภาพของการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่าง Robo-Advisor ว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีในอนาคตได้ชัดเจนมากขึ้นเช่นกัน

คุณพรทิพย์ กองชุน

“ยุคนี้และยุคต่อไปเป็นยุคแห่ง Big Data แต่เราจะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างไร นี่ต่างหากเป็นสิ่งที่ชาว Gen M ต้องรู้ ที่ผ่านมา เราจะซื้อหุ้นสักตัวหนึ่ง ตอนเราได้กำไร กำไรเพราะอะไรก็ไม่รู้ เพราะว่าส่วนใหญ่ซื้อตามกัน ขาดทุนก็ไม่รู้ว่าทำไมขาดทุน แต่พอมีเทคโนโลยี เราจะสามารถตอบได้ และทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่คุณพรทิพย์ย้ำเพิ่มเติมก็คือ ควรจะเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเวลาเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อความสำเร็จ

“การลงทุนตั้งแต่อายุน้อย ๆ คุณจะมีเวลาอีกมากที่จะจัดการกับความเสี่ยง ได้ลองผิดลองถูก รู้ว่าสไตล์ตัวเองเป็นแบบไหน และได้รู้จักรับมือกับความผันผวน เช่นในตอนนี้ ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านบาทและอยากมี 100 ล้านบาทคุณมีได้ แต่คุณต้องหาทางทำให้มีผลตอบแทน 10 – 15% ต่อปีสะสมไปสัก  25 ปีก็ถึง นี่คือสิ่งที่เราบอกว่า ทำไมจึงควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย”

โอกาสในการค้าออนไลน์ยังมี แต่ต้องปรับสู่ Friend-Commerce

คุณสืบศักดิ์ ลิ่วรัตน์

นอกจากการลงทุนในตลาดเงินแล้ว การลงทุนในตลาดการค้าก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างความมั่งคั่งของคนยุคใหม่ได้ดี ซึ่งในจุดนี้ กูรูด้านดิจิทัล อย่างคุณสืบศักดิ์ ได้ชี้ว่า โลกออนไลน์ในปัจจุบันนั้นเปิดกว้าง และกลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ช่วยสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน

“สิ่งที่ผมเห็นคือรูปแบบการค้าออนไลน์ของคนยุคนี้เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด คนที่อยากจะขายของ เพียงใช้เครื่องมือสำเร็จรูปก็สร้างเว็บไซต์ได้แล้ว หรือจะเปิดแอคเคาท์ (หน้าร้าน) กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็สามารถค้าขายออนไลน์ได้แล้วเช่นกัน”

แต่ความยากของตลาด E-Commerce ในยุคนี้ก็คือ ผู้ซื้อก็มีความรู้ความเชี่ยวชาญในตัวสินค้ามากไม่แพ้ผู้ขาย ดังนั้นอาจเป็นการดีกว่า หากผู้ค้าออนไลน์จะเริ่มขายจากสินค้าใกล้ตัว หรือมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นทุนเดิม

“การค้าจะเปลี่ยนไปสู่รูปแบบ Friend-Commerce ที่ผู้ซื้อจะคุยกับพ่อค้าเหมือนเพื่อนกันมากกว่าคุยกับพ่อค้าที่ทำตัวเป็นพ่อค้า ดังนั้น หากเราสามารถตอบคำถาม หรือมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไปฝากลูกค้าได้ ให้เขารู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนเขานั้น โอกาสในการซื้อก็มีสูง”

นวัตกรรมสร้างแรงบันดาลใจ “Refinn – Etran”

หากไม่ถนัดการลงทุนและการค้าออนไลน์ อีกหนึ่งโลกที่ชาว Gen M มีโอกาสก้าวเข้าไปก็คือ โลกแห่งนวัตกรรม และสตาร์ทอัพ โดยบนเวทีดังกล่าวได้มีการเชิญสองสตาร์ทอัพชื่อดังอย่าง Etran สกูตเตอร์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย และ Refinn ผู้ให้บริการระบบรีไฟแนนซ์บ้านมาแรงแห่งปี มาบอกเล่าประสบการณ์ให้ได้ฟังกันด้วย

คุณสรณัญช์ ชูฉัตร

โดยคุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้ง อีทราน (ไทยแลนด์) สกูตเตอร์ไฟฟ้าเลือดไทยก็ได้เผยถึงประสบการณ์ของเขาว่า การลงมาทำสตาร์ทอัพอย่างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้านั้น นอกจากจะได้ในเรื่องของมิตรภาพ และการบริหารจัดการต่าง ๆ แล้ว ในระหว่างทางที่พัฒนาสกูตเตอร์ไฟฟ้านั้น เต็มไปด้วยเรื่องราวประทับใจมากมาย ทั้งจากโรงงานผู้ผลิตที่ผู้บริหารบอกกับทีมว่า อยากให้การสนับสนุน เพราะเราเป็นลูกค้าคนไทยรายแรกของที่นี่ ไปจนถึงวันแถลงข่าวที่ปิดโรงภาพยนตร์ และได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทุกแขนง

โดยคุณสรณัญช์เผยข้อคิดที่น่าสนใจว่า อย่าให้ความกลัวว่าการลงมือคิดหรือทำสิ่งใดไปแล้วจะถูกก็อปปี้ไอเดียมาหยุดยั้งความฝัน เพราะคนที่ก็อปปี้ไอเดียของเราไปนั้น ใช่ว่าจะดูแลความฝันของเราได้เสมอไป

คุณนิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล

ด้านคุณนิลทิตา เลิศเรืองศุภกุล ผู้ก่อตั้ง Refinn แพลตฟอร์มผู้สร้างอิมแพคให้กับวงการรีไฟแนนซ์บ้านเผยว่า สตาร์ทอัพของเธอเริ่มต้นขึ้นจากการมองเห็นปัญหา ๆ หนึ่ง นั่นคือ กระบวนการรีไฟแนนซ์มีความยุ่งยาก ทั้ง ๆ ที่ถ้าหากทำการรีไฟแนนซ์ อาจสามารถลดยอดเงินที่เราจะต้องจ่ายแก่เจ้าหนี้ให้น้อยลงได้ ซึ่งสำหรับบางคนแล้วอาจหมายถึงเงินหลายล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถนำกลับไปสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับครอบครัวไทยได้อีกมาก เช่น ส่งลูกให้เรียนจบได้ หรือส่งเงินให้พ่อแม่ได้มากขึ้น

“แพลตฟอร์มของ Refinn เราเข้ามาทำให้การรีไฟแนนซ์ง่ายขึ้น โดยเราเปรียบเทียบเงื่อนไขให้เห็นชัด ๆ ว่า ธนาคารไหน ให้ผลประโยชน์ดีกว่ากัน แต่นั่นยังไม่เท่ากับการที่เราได้เห็นชีวิตคนดีขึ้นจากบริการของเรา ได้เห็นสิ่งที่เราทำว่าทำให้คนมีความสุขมากขึ้น”

ภาครัฐชี้ 5 ปัญหาสกัดการเติบโต ยุค Gen M

ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้อำนวยการอาวุโสของ ETDA

ในส่วนของภาครัฐ ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้อำนวยการอาวุโสของ ETDA ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับชาว Gen M เอาไว้เช่นกัน โดยเผยว่า ประเทศไทยที่ต้องการก้าวสู่การเป็น Thailand 4.0 นั้น จะสามารถทำได้สะดวกมากขึ้นหากสามารถก้าวข้าม 5 ความท้าทายนี้ไปได้ ซึ่งความท้าทายนั้นประกอบด้วย “กับดักรายได้ปานกลาง” ที่คนไทยควรจะมีรายได้ต่อหัวที่ 30,000 บาทขึ้นไป (ปัจจุบันรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 16,000 – 17,000 บาทต่อเดือน) สองคือปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมและบริการให้ดีขึ้น สามคือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ สี่คือเรื่องการพัฒนาศักยภาพคนในประเทศ และห้า คือปัญหาคอรัปชั่น

โดย ดร.รัฐศาสตร์ชี้ว่า ข้อจำกัดทั้ง 5 ข้อนี้สามารถบั่นทอนโอกาสในการแข่งขันกับตลาดโลกให้ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายให้ชาว Gen M ได้คิดหาไอเดียมาจัดการกับความท้าทายเหล่านั้นด้วย

ดร.รัฐศาสตร์ได้ยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บอกว่าวิสัยทัศน์ของเขานั้นก้าวข้าม Digital Economy ไปสู่ Creative Economy หรือก็คือการขายสินค้าจากความคิด จากนวัตกรรมแล้ว ซึ่งนั่นเป็นความท้าทายของชาว Gen M ของไทยให้ได้ตรึกตรองเช่นกันว่า อนาคตของประเทศไทยนั้น ชาว Gen M จะพาเดินไปในทิศทางใดดี

Money Coach ชี้ทางก้าวข้ามกับดักทางการเงิน

คุณจักรพงษ์ เมษพันธ์ุ

หากได้ทราบเทรนด์ในอนาคตแล้ว มีไอเดียจากแรงบันดาลใจดี ๆ แล้ว รู้ถึงความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้าแล้ว การให้คำแนะนำด้านวิธีบริหารจัดการทรัพย์สิน หรือความมั่งคั่งร่วมด้วยในเซสชั่นปิดท้ายจากโค้ชด้านการบริหารเงินชื่อดัง “คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์” ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ฟอรัมครั้งนี้ครบถ้วนสมบูรณ์

โดยคุณจักรพงษ์ได้เปิดประเด็นมาได้อย่างน่าสนใจ ถึงความเข้าใจผิดในเรื่องความรู้ทางการเงินของคนจำนวนไม่น้อย ที่อาจมองว่า การตั้งใจเรียน หางานดี ๆ ทำแล้วจะประสบความสำเร็จด้านการเงิน มีเงินเดือนดี ๆ เข้ามาทุกเดือน แต่ในมุมมองของเขานั้นมองว่า ชีวิตมนุษย์ไม่เคยเบาลง ดังนั้น 10 ปีแรกของการทำงานต้องตั้งใจให้ดี อยากรู้อะไรให้ลุยเพื่อสะสมประสบการณ์ และต้องออมเงิน สัก 20% ของรายได้ 

เหตุที่ควรเป็น 20% นั้น โค้ชจักรพงษ์ชี้ว่า คนมีเงินออมนั้นมีทางเลือกในการลงทุนมากกว่าเสมอ และอายุของชาว Gen M ก็เป็นช่วงวัยที่ยังเติบโตได้อีกมาก หากเกิดความผิดพลาดก็สามารถลุกขึ้นได้เร็วกว่าคนเจเนอเรชั่นอื่น ๆ ที่มีภาระในชีวิตมากกว่านั่นเอง นอกจากนี้ โค้ชจักรพงษ์ยังได้เสนอมุมมองใหม่ ๆ แก่ชาว Gen M ด้วยว่า

“ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตเข้ามาเปลี่ยนเครื่องมือด้านการตลาดไปมากพอสมควร และทำให้ Gen M สร้างตัวได้ง่ายขึ้น เราพบว่าคนที่บริหารเงินเป็นจะมีรายได้หลาย ๆ ทาง และใช้เงินลงทุนของตัวเองให้น้อยที่สุด ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่รวยมาก แต่มีทางเลือกมากขึ้น การที่ผมแนะนำว่าคนเราควรมีรายได้หลายทาง ไม่ใช่เพื่อมั่งคั่งเร็ว แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยง เพราะทางข้างหน้าเราเห็นไม่ชัด ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง คนยุคใหม่ต้องรู้จักบริหารจัดการความเสี่ยง ให้มากพอ ๆ กับการสร้างผลตอบแทน”

แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงฟอรัมการเสวนาโดยกูรูผู้มีชื่อเสียง หรือคอนเทนต์ดี ๆ สร้างแรงบันดาลใจจากสตาร์ทอัพชื่อดัง – Money Coach ของไทย ประกอบกับตัวเลขที่น่าสนใจจากภาครัฐ ทำให้เห็นว่า “โอกาส” ของชาว Gen M นั้นมีอยู่มากมายให้เลือกคว้า เลือกเข้าไปแก้ไข และเลือกได้ที่จะเติบโต

การฟังจากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้วอาจเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ดีของชาว Gen M แต่จะไม่เกิดอะไรเลย หากการฟังนั้นจบลงโดยที่ไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ เพราะการลงมือทำ การได้เผชิญหน้ากับความท้าทายจริง ๆ นั้นจะกลายเป็นขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่งที่ดีที่สุดที่ชาว Gen M  จะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป และสำหรับชาว Gen M ที่เริ่มลงมือทำแล้ว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมจากกรุงศรีกูรูได้ที่

เว็บไซต์  
https://www.krungsri.com/bank/en/krungsri-guru/home.html Facebook https://www.facebook.com/krungsriguru/ 

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post เจาะกลยุทธ์ Gen M สร้างความมั่งคั่งอย่างไรให้รอบด้านในยุค Digital Disruption appeared first on thumbsup.

เปิดมุมมองสามคนดัง “พื้นที่”แบบไหนตอบโจทย์ความความสำเร็จ

$
0
0

อะไรคือนิยามความสำเร็จของคนรุ่นใหม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากขึ้นในยุคที่ชาว Gen Y เริ่มกลายเป็นกำลังหลักของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งคำตอบเช่น บ้านหลังใหญ่? รถหรู? อาจไม่ใช่อีกต่อไป ส่วนจะเป็น เงิน? ชื่อเสียง? บางทีอาจไม่ใช่เสียทีเดียว หากแต่คำตอบที่ใช่และบ่งบอกตัวตนของคนรุ่นใหม่ได้ดีที่สุดอาจเป็น “ความมีอิสระ – ความไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง – การได้เป็นแรงบันดาลใจซึ่งกันและกัน”

“คุณต้า-รรินทร์ ทองมา” ผู้ก่อตั้ง O&B หรือ Other&Book ธุรกิจรองเท้าออนไลน์ที่มียอดขายกว่า 100 ล้านต่อปี คือผู้ที่บอกว่านิยามความสำเร็จของเธอคือ การไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง

“ต้าไม่กลัวปัญหาที่จะเข้ามาเลย เพราะต้าสามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง และใช้สติรับมือกับปัญหาได้ทุกรูปแบบ”

สำหรับใครที่ไม่คุ้นหน้าเธอ เราเชื่อว่าหลายท่านคงจำได้กับภาพโฆษณาใน Social Media ที่มีการนำรองเท้าบัลเลต์ 50 สีมาวางเรียงเป็นวงกลมซึ่งเป็นภาพที่สาวๆ เห็นแล้วก็อดจะเหลียวกลับมาดูอีกครั้งไม่ได้ และนั่นก็คือแบรนด์ O&B ที่เธอเป็นเจ้าของ

“มันเริ่มมาจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่าในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง เราอยากเห็นอะไรถึงจะรู้สึกว้าวและตระการตา แต่ไม่ใช่แค่ดีไซน์ที่สวยงาม แต่ยังมีจุดขายที่แข็งแรงในด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกเรื่อยๆ และเกิดการบอกต่อ”

โดยธุรกิจของเธอเริ่มต้นจากพื้นที่ขนาดเพียง 3×3 เมตรใต้โรงงานกระเป๋า กับเงินทุนไม่ถึง 1 แสนบาท วันนี้เมื่อมีความพร้อมด้านเงินทุนแล้ว คุณต้าจึงหันมาให้ความสำคัญกับพื้นที่มากขึ้น

“การที่เราตั้งเป้าหมายให้แบรนด์ไปสู่ระดับสากล เราต้องมีพื้นที่ดีๆ คอยรองรับด้วย ทั้งพื้นที่ทำงานและที่อยู่อาศัย เพราะพื้นที่และสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นเชื่อมโยงต่อสภาพจิตใจและงานที่ออกมา”


แม้รายได้หลักจะมาจากออนไลน์ แต่คุณต้าก็ลงทุนสร้าง Showroom เพื่อส่งผ่าน Experience และตัวตนของแบรนด์ให้ลูกค้าสัมผัสได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่ที่ใช่สำหรับต้า คือพื้นที่ที่สะท้อนความเป็นตัวเรา และต้องรองรับการปรับเปลี่ยนให้เราจัดการได้ตามความต้องการ

ขณะที่คุณหมู – ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอธุรกิจพันล้านอย่าง OOKBEE และอีก 37 ธุรกิจที่ร่วมลงทุนใน Venture Capital นั้นมองว่า การมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับชีวิตเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชาว Gen Y เช่นเขาได้ดีไม่แพ้กัน

“สำหรับผมการ Control ไม่ได้หมายความว่าเราต้องลงไปนั่งทำเองทุกอย่าง ทีมงานส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ หลายๆ คนก็เก่งกว่าผมซะอีก สิ่งที่สำคัญมากคือเราจะทำยังไงให้คนเก่งๆ เหล่านี้เค้าอยากทำงานกับเรา”

“ทุกวันนี้ ผมทำหน้าที่เป็นเหมือนเชียร์ลีดเดอร์ให้กับทีมงานมากกว่า แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องรับรู้ข้อมูลให้เท่าทัน เพื่อที่จะสามารถพูดคุยกับทุกคนให้คำแนะนำทุกคนได้ โดยมีตำแหน่งหนึ่งในบริษัท ที่คอยทำกราฟผลประกอบการธุรกิจทั้งหมดที่ผมดูแลวันละหลายร้อยชาร์ตให้ผมคอยอ่าน ซึ่งผมสามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้ทั้งหมดผ่านแอพพลิเคชั่นในไอแพด ไม่ต้องเสียเวลาเข้าประชุมทุกวัน


โดยมุมมองของคุณหมูเห็นว่า “ในส่วนของไลฟ์สไตล์ ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ อาจไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีชั้นหนังสือหรือเครื่องเล่นแผ่นเพลงเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา เพราะเราสามารถเอ็นจอยกับกิจกรรมทั้งหมดได้ในมือถือเพียงเครื่องเดียว เราสามารถใช้โลกดิจิตอลมาช่วยประหยัดพื้นที่ ที่เราใช้อยู่อาศัยได้จริง มันสะท้อนให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการคอนโทรลชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวได้ และยังเปิดโอกาสให้มีพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เราเอาไปสร้างเป็นธุรกิจได้อีกนับไม่ถ้วน”

หนุ่มคนสุดท้ายเป็นเจ้าของผลงานสถาปนิกระดับโลกอย่าง คุณวสุ วิรัชศิลป์ ผู้ก่อตั้ง VaSLab Architecture ที่มองว่า พื้นที่อย่าง Co-Working Space คืออีกหนึ่งพื้นที่ที่นำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์

“การนั่งทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จ” คุณวสุกล่าว “อาชีพสถาปนิก สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ Creativity ห้ามหมด ในการทำงานแต่ละครั้ง กระบวนความสำเร็จจะต้องอยู่ในทุกๆ process ตั้งแต่ตัวเอง ความสุข และจินตนาการ ซึ่งจะต้องทำจินตนาการตรงนั้นออกมาให้สามารถเป็นจริงได้”

“ผมมองว่าแรงบันดาลใจจากคนใกล้ตัว ก็สามารถช่วยสร้างผลงานระดับโลกได้ ดังนั้น ถ้าเราอยากจะเป็นที่ประสบความสำเร็จ ต้องเป็นคนที่ไม่หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ต้องรู้จักเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ผมเคยมั่นใจในผลงานที่ผมคิดคนเดียวว่ามันดีที่สุดแล้ว แต่พอมา Brainstorm กันแล้ว กลับพบว่ามันมีไอเดียที่มาปรับมาเสริมให้ไอเดียมันคมขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งตอนที่ผมเป็นอาจารย์ นักศึกษาก็เข้ามาขอให้เราช่วยแนะนำการออกแบบให้ แต่พวกเขาไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วผลงานของเขาก็เป็น Inspiration ให้กับผมเหมือนกัน

สถานที่ในการทำงานก็มีผลมาก เพราะนอกจากที่ออฟฟิศแล้ว คุณวสุยังยังชอบมักออกไปนั่งทำงานตาม Co-working Space อย่าง Lounge Room ในคอนโด หรือตามร้านคาเฟ่เก๋ๆ เพราะบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และเอื้อต่อการพูดคุยมันมีส่วนช่วยให้ไอเดียดีๆ เกิดขึ้นได้

“พอเรา relax ไอเดียมันจะเข้ามาหาเราเอง ผมยังเคยสเกตช์งานบนถุงใส่แซนด์วิชมาแล้ว”

หันกลับมามองที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลายคนอาจได้ยินการปรับโฉมใหม่ของแบรนด์ Life Condominium จาก AP ที่มองกลุ่ม Target เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีเป้าหมายสร้างความสำเร็จให้กับตัวเอง และชอบหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองไปข้างหน้า จึงได้เซ็ต Position ตัวเองในฐานะ PLATFORM OF SUCCESS คอนโดที่เข้าใจและออกแบบมาเพื่อรองรับการก้าวไปสู่ความสำเร็จของคนรุ่นใหม่ โดยสะท้อนผ่านภาพลักษณ์และทัศนคติของไอคอนคนยุคใหม่เพื่อสื่อสารตัวตนและ Brand Attitude ที่ชัดเจนให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ในด้านของตัวคอนโดเองนั้น ก็นำไลฟ์สไตล์ของชาว Gen Y เข้ามาผนวกในการออกแบบที่พักอาศัยในทุกมิติ โดยมีฟังก์ชั่นสำคัญๆที่ตอบโจทย์ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ที่จะเป็นตัวเอื้ออำนวยให้ลูกค้าก้าวไปสู่ชีวิตที่ประสบความสำเร็จได้ โดยมีพื้นที่ในรูปแบบของ Co-Working Space อีกทั้งมีการนำแอปพลิเคชันเข้าควบคุมระบบต่างๆ ในห้องพัก และพื้นที่ส่วนกลางได้แบบ Real Time ขณะที่การออกแบบพื้นที่ในห้องพักก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตรงตามไลฟ์สไตล์ของชาว Gen Y ที่ไม่หยุดนิ่งอีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างหนึ่งว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ตอบโจทย์คน Gen Y ได้นั้นอาจต้องเป็น “มากกว่า” นวัตกรรมแล้วในยุคนี้

ติดตามความสำเร็จของชาว Gen Y ได้เพิ่มเติมที่ www.PlatformOfSuccess.com

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post เปิดมุมมองสามคนดัง “พื้นที่” แบบไหนตอบโจทย์ความความสำเร็จ appeared first on thumbsup.

4 พันคนในวินาทีแรก – 4 แสนคนใน 4 ชั่วโมง Activity ไร้กรอบของ “Samsung S8”

$
0
0

เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ไร้กรอบจริงๆสำหรับซัมซุงที่ออกแคมเปญ #เกมล่าคว้าS8 ท้าคนไทยให้ออกตามหา Samsung Galaxy S8 สมาร์ทโฟนไร้กรอบ ไร้ปุ่มโฮม ที่ซ่อนอยู่ตามจุดต่างๆทั่วกรุงเทพมหานคร ผ่าน Facebook Live ของ Samsung Mobile Thailand ที่มีการ Hybrid โลกของ On-Ground และ On-Line ไปพร้อมๆ กัน และถือเป็นการเอาใจ New Gen ที่ชอบความท้าทายรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างลงตัว 

โดยกิจกรรมนี้จัดทั้งหมด 4 รอบ สามารถร่วมสนุกได้ 2 ช่องทาง On-Ground และ On-Line สำหรับผู้ล่า On-Ground ที่หาเจอเมื่อไหร่ หยิบ S8 ไปได้เลย และผู้ล่า Online ที่คอมเม้นท์ทายชื่อสถานที่ได้อย่างถูกต้อง มีสิทธิ์ลุ้นรับ S8 เช่นกัน

แคมเปญนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายรอชม Live ทั้ง 4 รอบกันเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ล่า On Ground ที่แกะรอยตามหา S8 ในสถานที่จริง และผู้เล่นผ่าน Online ที่ยอดคนเล่นพุ่งสูงถึง 4 พันคนในนาทีแรกที่ Live  และมากกว่า 4 แสนคนตลอดช่วงของการจัดกิจกรรมทั้งหมด  ซึ่งผู้เล่นสามารถแกะรอยสถานที่และคำใบ้ ตามหา S8 ที่ซ่อนอยู่ได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงหลังจาก Live

 

นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ นับว่า ซัมซุง กาแลคซี่ เอส 8 ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้กับวงการสมาร์ทโฟนในไทยนับตั้งแต่วันที่เราเปิดจองในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ‘เกมล่า คว้า เอส 8’ นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เราได้ส่งมาเพื่อสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มักจะทำกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ โดยในอนาคต เราก็จะมีกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นของ S8 ออกมาอีกแน่นอน ”

เครดิตเอเจนซี่เจ้าของผลงาน: adapter digital co., ltd.

 
Source: thumbsup

The post 4 พันคนในวินาทีแรก – 4 แสนคนใน 4 ชั่วโมง Activity ไร้กรอบของ “Samsung S8” appeared first on thumbsup.

เปิดรายงานเชิงลึกประเทศไทย วิกฤติหรือโอกาสของ “เทคโนโลยี”กับการรับมือสังคมผู้สูงอายุ

$
0
0

เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการเปิดเผยตัวเลขชุดหนึ่งที่น่าสนใจมากสำหรับคนไทย นั่นก็คือ “รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย” (Thailand Digitalization Whitepaper) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ (Roland Berger) โดยเจาะลึกในเรื่องดิจิทัลของอุตสาหกรรมไทย 3 ด้านได้แก่ สังคมผู้สูงอายุ, การเกษตร และการท่องเที่ยว

สำหรับตัวเลขที่น่าสนใจนี้มาจากข้อมูลฟากของ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) เหตุที่กล่าวว่าน่าสนใจมากเป็นเพราะในรายงานชิ้นนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุถึง 26.9% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งตัวเลขนี้เทียบเท่าประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรเลยทีเดียว ขณะที่ในระดับโลกแล้ว ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17% หรือระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็ไม่ต่างกันมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 18% เท่านั้น

ส่วนสาเหตุการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุนั้นเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงทราบกันดีแล้วว่า มาจากสองประเด็นหลัก ๆ นั่นก็คือ อัตราการเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กับการเพิ่มขึ้นของอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากร

แผนภาพที่ 1 ปิระมิดประชากรไทยแสดงถึงประชากรตามเพศและกลุ่มอายุ

นอกจากนั้นยังมีประเด็นรองในเรื่องของการขยายตัวของสังคมเมือง และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนไป และมีแนวโน้มต้องการจำนวนบุตรที่น้อยลงด้วย

สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้นำไปสู่ความท้าทายในหลาย ๆ ด้านที่คนไทยในยุคต่อไปต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น

1. รายจ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

ตัวเลขจากองค์การอนามัยโลกพบว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยในปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ 360 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 12,258 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า จากเดิมในปี พ.ศ. 2543 นั้นอยู่ที่คนละ 74 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,519 บาทเท่านั้น

ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ภาครัฐต้องรับผิดชอบก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยพบว่า ในปี พ.ศ. 2538 ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แค่ 51% แต่ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าเขยิบขึ้นมาเป็น 86%

แผนภาพที่ 2 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อประชากรหนึ่งคน (เหรียญสหรัฐ, พ.ศ. 2538 ถึง 2557)

2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มจำนวนขึ้น

หนึ่งในข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ประกอบอยู่ในรายงานเชิงลึกฉบับนี้ชี้ว่า ผู้สูงอายุจำนวนมากป่วยเป็นโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง – เบาหวาน เป็นสองโรคที่พบได้บ่อยที่สุด) โดยตัวเลขในปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มเป็น 37% และเบาหวานเพิ่มเป็น 15% จากเดิมในปี พ.ศ. 2545 อยู่ที่ 20% และ 9% ตามลำดับ

3. บริการทางการแพทย์ที่ไม่สะดวกต่อผู้สูงอายุ

จากรายงานดังกล่าวพบว่า ผู้สูงอายุกว่าครึ่งของไทยนั้นอาศัยอยู่ในเขตชนบท โดยภาคเหนือและภาคอีสานมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากที่สุด มากไปกว่านั้น ในเขตชนบท เมื่อมีผู้สูงอายุป่วย และต้องการแพทย์เฉพาะทาง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมารอพบแพทย์ที่โรงพยาบาลระดับอำเภอ เป็นที่เรื่องยากลำบากมาก

4. มีผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยตามลำพังเพิ่มขึ้น

การปรับเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ทำให้ประชากรวัยทำงานต้องเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น และปล่อยให้ผู้สูงอายุจำนวนมากอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยในปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตามลำพังเพิ่มเป็น 8.7% จากเดิมในปีพ.ศ. 2537 มีแค่ 3.6% ส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยกับบุตรหลานก็ลดลงเหลือแค่ 55% จากเดิมที่ 73% ด้วย

แผนภาพที่ 3 สัดส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับบุตรและอาศัยอยู่ตามลำพัง (%, พ.ศ. 2537 – 2557)

การอยู่ตามลำพังถือว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น หกล้ม, หัวใจวายเฉียบพลันในผู้สูงอายุได้มาก อีกทั้งยังพบว่าสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า ผู้สูงอายุไทยกว่า 90% อาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีราวจับในห้องน้ำ และห้องนอน รวมถึงยังมีอีก 35% ที่ขับถ่ายด้วยส้วมหลุม ทำให้ต้องนั่งยองและอาจลุกได้ยากลำบากนั่นเอง

5. ประเทศไทยกำลังมีผู้ช่วยเหลือค้ำจุนผู้สูงอายุลดลง

ผู้ช่วยเหลือค้ำจุนผู้สูงอายุก็คือ คนดูแล ซึ่งหากคำนวณจากประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 – 60 ปี) ต่อประชากรสูงอายุ 1 คน (อายุมากกว่า 60 ปี) พบว่า จากเดิมที่มีอยู่ 4.2 คนในปี พ.ศ. 2558 จะลดลงเหลือ 2.2 คน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการขาดผู้ดูแลนี้ หากไม่มีการแก้ไขจะนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายในอนาคต

แผนภาพที่ 4 จำนวนประชากรวัยทำงานต่อผู้สูงอายุ 1 คน (พ.ศ. 2543 – 2573)

6. เกิดผลกระทบจากการพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจ 

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า รายได้ของประชากรไทยในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยผู้สูงอายุมีรายได้ต่อปีน้อยกว่าคนวัย 40 – 44 ปีถึง 30% และ 80% ของผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากบุตรหลาน และมีถึง 37% ที่บอกว่า เงินช่วยเหลือจากบุตรหลานคือรายได้หลักของตนเอง

แผนภาพที่ 5 ผู้สูงอายุแบ่งตามแหล่งที่มาของรายได้หลัก

ดึง “4 เทคโนโลยี” รับมือ 6 ความท้าทาย

จากตัวเลขดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องนำ “เทคโนโลยี” เข้ามาจัดการกับ “ความท้าทาย” เหล่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถนำมาช่วยได้นั้น รายงานเชิงลึกชิ้นนี้ได้ชี้ว่ามีทั้งสิ้น 4 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่

1. การจัดทำระบบจัดการข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (National Health Information System หรือ NHIS) 

ระบบจัดการข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (NHIS) ประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบ Real-Time การบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลระดับชาติ (National Data Platform) การแบ่งปันข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งข้อมูลหลักของระบบ NHIS คือฐานข้อมูลประวัติผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National Electronic Health Record) โดยเป็นประวัติอย่างละเอียดของประชากรแต่ละคน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลระบบประกันสุขภาพ ข้อมูลการแพ้ยา ประวัติการเป็นโรค ประวัติการตรวจรักษา ประวัติการใช้ยา ประวัติการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ฯลฯ ที่โรงพยาบาลทุกแห่งมีสิทธิ์เข้าถึง

แผนภาพที่ 6 ส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบบริการข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ

โดยที่ผ่านมา ความท้าทายของประเทศไทยก็คือ การที่ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาของ NHIS อยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นระดับที่มีการพัฒนาและการใช้แบบกระจัดกระจาย (Scattered Stage) ที่ภาครัฐและเอกชนมีการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการประสานงานในการจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลระดับชาติสำหรับผู้ป่วยด้วย

ความท้าทายอีกข้อหนึ่งคือ ความไม่พร้อมทางการบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นประเด็นที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลสุขภาพทำได้ยากขึ้น รวมถึงการที่ระบบไม่สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มกันได้กับระบบอื่น ทำให้การแชร์ข้อมูลถูกจำกัด ประการสุดท้ายคือการประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และการรักษาความลับของผู้ป่วยที่ยังเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนเป็นกังวล

ด้วยเหตุนี้ แนวทางการพัฒนาที่รายงานเชิงลึกชิ้นนี้นำเสนอจึงมีสองข้อใหญ่ ๆ ด้วยกัน นั่นคือ การพัฒนาระบบบันทึกฐานข้อมูลประวัติผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National Electronic Health Record หรือ NEHR) บนฐานข้อมูลระดับชาติ โดยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงได้  และมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางนโยบายและการป้องกันโรคได้ด้วย

สองคือการพัฒนาพอร์ทัลสำหรับผู้ป่วยแห่งชาติ (National Patient Portal) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงฐานข้อมูลระดับชาติ และข้อมูลประวัติของตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน และสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูล สถิติ บทวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและแอปพลิเคชันด้านสุขภาพต่อไป

2. การให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกลอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดด้วย Telehealth

Telehealth คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในการให้บริการด้านสุขภาพในระยะทางไกลและสามารถนำมาใช้ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. 1. Provider-to-Provider (ระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพ)
  2. 2. Provider-to-Patient (ระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพกับผู้ป่วย)

แผนภาพที่ 7 ภาพอธิบาย Telehealth สองรูปแบบ

ประโยชน์ที่จะได้รับจาก Telehealth คือ ช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับบริการด้านสุขภาพจากแพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลเหล่านั้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วย

ในส่วนของรัฐบาล Telehealth จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างสถานพยาบาลเพิ่มเติมในพื้นที่ชนบท และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ลงได้

สำหรับตัวการที่สะกัดการใช้งาน Telehealth ไม่ให้แพร่หลายนั้น ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้

– โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ยังไม่พร้อม ทั้งในด้านความเร็วและการครอบคลุมของเครือข่าย

– ขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี Telehealth

– กฎระเบียบต่าง ๆ ยังไม่ชัดเจนในการให้การรักษาแบบ Telehealth และจำเป็นต้องกำหนดสิทธิของแพทย์และผู้ป่วยให้ชัดเจนขึ้น

โดยรายงานดังกล่าวได้เสนอรูปแบบการพัฒนา Telehealth เอาไว้ดังนี้

– พัฒนาเครือข่าย Telehealth ระหว่างผู้ให้บริการ (Provider to Provider) เช่นในโรงพยาบาลศูนย์ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ (ร่วมกับการเตรียมความพร้อมในด้านแอปพลิเคชัน) เพื่อให้การสื่อสารกับโรงพยาบาลศูนย์มีความชัดเจนและรวดเร็ว

– อบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้พร้อมที่จะให้บริการ Telehealth

– สนับสนุนให้มีบริการ Telehealth ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วยมากขึ้น (Provider to Patient) โดยเฉพาะเทคโนโลยี Remote Patient Monitoring เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความลำบากในการเดินทางมาพบแพทย์

– พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับวัดข้อมูลที่บ้าน และอุปกรณ์รับข้อมูลที่โรงพยาบาล

– ส่งเสริมภาคเอกชนรวมถึงสตาร์ทอัป ผลิตอุปกรณ์แบบสวมใส่ (Personal Wearables) เพื่อใช้ในการชี้วัดทางสุขภาพด้วยตัวเองและเชื่อมกับระบบ  Remote Patient Monitoring ของโรงพยาบาล

– แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการใช้งาน Telehealth โดยต้องกำหนดสิทธิ์ของแพทย์และผู้ป่วยอย่างชัดเจน และในส่วนของบริการแบบ Provider to Patient ก็ต้องมีนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวที่รัดกุม เป็นต้น

3. การเสริมสร้างความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้สูงอายุขณะอยู่บ้าน

ความปลอดภัยของผู้สูงอายุขณะอยู่บ้านเป็นสิ่งที่ลูกหลานหลายคนกังวล ซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะนำมาใช้ใน Smart Home จึงมีหลากหลาย สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่ม Home Sensors, อุปกรณ์ IoT และ Care Robots (หุ่นยนต์ดูแล)

ประโยชน์ของ Smart Home

  • ช่วยเพิ่มความปลอดภัยโดยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
  • ลดภาวะการพึ่งพาคนอื่นในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในวันที่ผู้ดูแลหาได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ช่วยลดความกังวลของลูกหลาน

ด้วยเหตุนี้ รายงานเชิงลึกฯ ฉบับนี้จึงมีคำแนะนำว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่ประเทศไทยควรมุ่งเน้นก็คือ การสนับสนุนให้มีการพัฒนาสินค้า Smart Home ออกมาให้มากกว่านี้ โดยเน้นที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาเซนเซอร์ในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ที่ใช้งานง่าย และมีราคาย่อมเยา รวมถึงการสนับสนุนเอกชน และสตาร์ทอัปในการพัฒนา IoT และหุ่นยนต์ดูแลที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุด้วย

4. การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคม

เครื่องมือดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ (Digital Social Interaction Solutions) เป็นกลุ่มของเครื่องมือดิจิทัลที่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ การพัฒนาสมอง การเพิ่มการมีส่วนร่วมกับสังคม การหางานและการสร้างรายได้ การติดต่อกับญาติมิตร ฯลฯ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มหลักดังนี้

  • Online Communities & Communications
  • Caregivers Platforms
  • Lifestyle Promotion Tools

แม้ว่าการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ แต่จากข้อมูลของรายงานชิ้นนี้ได้ชี้ว่า ผู้สูงอายุที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอนั้นมีเพียง 3.9% เท่านั้น ขณะที่การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุโดยสตาร์ทอัปไทยก็ยังมีจำกัด ซึ่งการที่ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจประโยชน์ของเครื่องมือดิจิทัล ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพสำคัญ และการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนออนไลน์จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย

แผนภาพที่ 8 อัตราการใช้อินเทอร์เน็ต (% ของประชากร)

ด้วยเหตุนี้แนวทางที่สามารถพัฒนาต่อในอีก 5 ปีข้างหน้าคือการพัฒนา Digital Social Interaction Solution สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเริ่มใช้เครื่องมือดิจิทัลนี้กับผู้สูงอายุในเขตเมืองก่อน เนื่องจากผู้สูงอายุในเขตเมืองมีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหามากกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท ก่อนจะให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

นายวิคเตอร์ จาง ประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารรัฐกิจ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด

ทั้งนี้ นายวิคเตอร์ จาง ประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารรัฐกิจ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด เผยว่า  หัวเว่ยขอให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยโดยใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัทมาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมดิจิทัล ซึ่งรายงานเชิงลึกนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อตกลงความร่วมมือด้วย

นายเดวิด ซุน ประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้านนายเดวิค ซุน ประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แสดงความเชื่อมั่นในระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ และนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากบีโอไอ ว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากขึ้นในสายตาองค์กรธุรกิจในระดับชาติ

ขณะที่อีกหนึ่งการสนับสนุนจากหัวเว่ยที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือการเปิดศูนย์ Huawei OpenLab Bangkok มูลค่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 512 ล้านบาท ที่อาคารจีทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก โดยศูนย์ดังกล่าวตั้งขึ้นบนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร และสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นฐานด้านไอซีทีของไทย ได้อย่างครบวงจร

โดยที่ผ่านมา หัวเว่ยมีการสร้างศูนย์ Huawei OpenLab มาแล้วในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน สิงคโปร์ เยอรมนี เม็กซิโก แอฟริกาใต้ ดูไบ และมีแผนจะสร้างให้ครบ 20 แห่งภายในปี พ.ศ. 2562 ด้วย

สำหรับ Huawei OpenLab Bangkok นั้น บริษัทมีแผนจะใช้ศูนย์ดังกล่าวเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากร ด้านไอซีทีได้ไม่ต่ำกว่า 800 คนต่อปี รวมถึงพัฒนาบุคลากรที่ผ่านประกาศนียบัตรรับรองด้านอาชีพ Huawei Certification อีก 500 คนต่อปี รองรับโครงการทดสอบแนวคิดราว 150 คนต่อปี และสตาร์ทอัปด้านไอซีทีได้มากกว่า 20 รายด้วย

นายซุนเผยว่า “ศูนย์ Huawei OpenLab Bangkok จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลแก่ลูกค้าและพันธมิตรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม โดยจะเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด และ Data Center สำหรับช่วยแก้ปัญหาการทดสอบโซลูชันการใช้งานต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมด้วย”

ทั้งนี้ จะมีนักวิจัยจากต่างชาติเดินทางเข้ามาทำงานที่ศูนย์ดังกล่าวอีกหลายร้อยคนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะทำให้นักวิจัย หรือสตาร์ทอัปจากไทยสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ โดยตรง

จากข้อมูลที่น่าสนใจใน Aging Society ที่เราได้นำมาฝากกันผ่าน “รายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย” ครั้งนี้ เชื่อว่า หลายท่านคงได้เห็นความสำคัญบางประการของการจับมือกัน การศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อต้านทาน หรืออย่างน้อยก็ปรับให้เราสามารถต่อกรกับความรุนแรงจาก Digital Disruption ได้ดียิ่งขึ้น 

บทความนี้เป็น Advertorial
 
Source: thumbsup

The post เปิดรายงานเชิงลึกประเทศไทย วิกฤติหรือโอกาสของ “เทคโนโลยี” กับการรับมือสังคมผู้สูงอายุ appeared first on thumbsup.

เปิดประสบการณ์ Next Cube ใช้สื่อดิจิทัลอย่างไรให้ได้มากกว่า Awareness

$
0
0

คุณรัญจิรา คงสวัสดิ์

 ปฏิเสธไม่ได้ว่า มนุษย์ทุกวันนี้มีสื่อรายล้อมอยู่เต็มไปหมด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า ในจำนวนสื่อมากมายมหาศาลนั้น อาจมีสื่อเพียงบางชนิดที่โดดเด่น ทำให้เราเกิดความสนใจและอยากเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซึ่งสื่อ Out-Of-Home (OOH) เป็นสื่อที่กำลังเผชิญกับความท้าทายนั้นอยู่ และหลายค่ายก็เกิดคำถามว่าจะทำอย่างไรให้สื่อ OOH ของตนเองนั้นน่าสนใจและสามารถสร้าง Engagement จากผู้บริโภคยุคใหม่ได้

ทีมงาน Thumbsup มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณรัญจิรา คงสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการจาก Next Cube ผู้พัฒนาสื่อ Out-of-Home (OOH) แบบอินเทอร์แอคทีฟรายใหญ่ของไทย ที่มาเผยถึงแนวคิดและเทคนิคในการสร้างสื่อ OOH ให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ โดยคุณรัญจิราเผยว่า หนึ่งในหัวใจสำคัญก็คือ “เทคโนโลยีอินเทอร์แอคทีฟ” ที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์จากแบรนด์ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น และสามารถเป็นได้มากกว่าเครื่องมือสร้างการรับรู้ในแบรนด์ (Awareness) เหมือนสื่อ OOH ทั่วไป

“เราพบว่า จากสื่อ OOH แบบดิจิทัลที่เรามีอย่าง Interactive Kiosk เมื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์แล้วสามารถสร้างความโดดเด่นเตะตาให้กับผู้ที่เดินผ่านไปมาได้เหนือกว่าสื่อ OOH แบบเดิม และสามารถสร้าง engagement หรือการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้เกิดขึ้นได้ดีกว่าด้วย”

โดยคุณรัญจิราเผยว่า สื่อ OOH แบบดิจิทัลนั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่เช่นกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่เติบโตมาท่ามกลางการใช้งานอินเทอร์เน็ตจนกลายเป็น Digital Native ได้อย่างลงตัว 

Life Tower สื่อ OOH แบบดิจิทัลของ Next Cube ณ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

สำหรับสื่อ OOH แบบดิจิทัลที่ทาง Next Cube พัฒนาขึ้นมานั้นมีทั้งตู้คิออสแบบอินเทอร์แอคทีฟและ Life Tower ขนาดใหญ่ ซึ่งทาง Next Cube เผยว่า การเลือกพื้นที่ปรากฏตัวของสื่อ OOH แบบดิจิทัลก็เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง  ซึ่งทาง Next Cube เลือกพื้นที่สำคัญอย่าง “ท่าอากาศยานนานาชาติ” เนื่องจากมองว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งรวมของผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่มีกำลังซื้อสูงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนั่นเอง

“พฤติกรรมคนใช้สนามบิน คือคนที่ทันสมัย และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากพอสมควร ดังนั้น เขาสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อได้เองโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปสอนเขามากนัก ที่สำคัญ สื่อ OOH แบบดิจิทัลนี้นอกจากจะสร้าง Engagement กับผู้บริโภคในสนามบินได้แล้ว ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับตัวสินค้าได้อีกด้วย”

“ยกตัวอย่างนักเดินทางชาวจีนที่เขามีความรู้สึกมั่นใจในคุณภาพของสินค้าไทยเป็นทุนเดิม โดยเขารู้สึกปลอดภัยที่จะซื้อขนม ของฝากจากไทยติดไม้ติดมือกลับบ้านไป และการที่เขาได้เห็นแบรนด์สินค้าไทยปรากฏอยู่บนสื่อ OOH ภายในท่าอากาศยาน ก็จะทำให้เขายิ่งเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้น”

ด้วยเหตุนี้ ทาง Next Cube จึงลงทุนสร้าง Life Tower ขนาดใหญ่ขึ้นภายในท่าอากาศยานของไทย 2 แห่งได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ร่วมกับการติดตั้ง Interactive Kiosk ในธีมที่แตกต่างกันตามท่าอากาศยานต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็น World Clock สำหรับบอกเวลาทั่วโลก หรือที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นตู้ Directory Kiosk เพื่อแสดงโปรโมชันของร้านค้าต่าง ๆ ภายในดอนเมือง เป็นต้น

Life Tower ณ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง

ส่วนในย่านใจกลางเมืองซึ่งเป็นแหล่งรวมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเองก็เป็นพื้นที่สำคัญของสื่อ OOH เช่นกัน ซึ่งทาง Next Cube มีพันธมิตรยักษ์ใหญ่อย่างเครือเซ็นทรัลในการตั้ง Interactive Kiosk เพื่อใช้ในการสร้าง Engagement และทำแคมเปญต่าง ๆ ด้วย โดยในจุดนี้ คุณอาสา วัฒนญาณกุล ผู้จัดการฝ่ายไอทีของ Next Cube กล่าวเสริมว่า “เรามีการจัดอีเวนท์กับแบรนด์ต่าง ๆ โดยใช้ตู้ Kiosk เป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ซึ่งแคมเปญที่ได้รับความนิยมคือการถ่ายภาพ – ปรินท์ภาพให้กับผู้ร่วมกิจกรรม หรือการดึงภาพผู้ร่วมกิจกรรมขึ้นไปแสดงผลบนจอดิจิทัลขนาดใหญ่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้รับการตอบรับที่ดีมาก”

นอกจากนั้น ยังสามารถผนวกคอนเทนต์เข้ากับโมบายล์แอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้ เพื่อให้แบรนด์สามารถเชื่อมโยงมีเดียไปนำเสนอใน Social Media ช่องทางต่าง ๆ ตามที่ต้องการด้วย

 

จากสื่อ OOH ดิจิทัลสู่โครงการ “70 ล้านคนไทยรักกัน”

นอกจากการใช้สื่อดิจิทัลในภาคธุรกิจแล้ว ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินชื่อโครงการ “70 ล้านคนไทยรักกัน” มากขึ้นผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการร่วมสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ของโรงพยาบาลศิริราช และเป็นโครงการสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงเล็งเห็นว่ามีจำนวนพสกนิกรมากมายที่มารอรับการรักษาที่ ร.พ.ศิริราช แต่จำนวนอาคารที่รองรับมีไม่มากพอ ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมาให้พลังของคนไทย 70 ล้านคนได้สานต่อโครงการนี้ให้สำเร็จ ซึ่งพิเศษมากขึ้นเมื่อทางโครงการฯ ได้นำตู้ Interactive Kiosk และโมบายล์แอปพลิเคชันของ Next Cube มาสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการดังกล่าวนี้ด้วย

ตู้ Interactive Kiosk ในโครงการ 70 ล้านคนไทยรักกัน

“เรามี Interactive Kiosk สำหรับแสดง 9 พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่คนไทยควรตระหนัก และมีช่องทางการร่วมสมทบทุนโดยใช้ใจ นั่นคือ การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน  70millionthailand และแชร์ภาพถ่ายที่แสดงออกถึงรอยยิ้ม ความรักความสามัคคีผ่านช่องทางดังกล่าว โดยทุก ๆ 1 ภาพเท่ากับ 1 บาทที่ร่วมสมทบทุน หรือจะบริจาคผ่านตู้ Kiosk ที่หน่วยงานราชการ สนามบิน และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทั้ง 17 สาขาทั่วประเทศก็ได้เช่นกัน” คุณรัญจิรากล่าวปิดท้าย

จากภาพรวมของสื่อ OOH แบบดิจิทัลทั้งในภาคเอกชนและภาคสังคมที่ Next Cube ได้ถ่ายทอดให้เห็นอย่างละเอียดนี้ เชื่อว่าคงจะทำให้หลายคนได้เห็นถึงการกลยุทธ์ในการปรับใช้สื่อ OOH ให้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับเทคโนโลยี และต้องการนำเทคโนโลยีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้มากขึ้น ซึ่งทีมงานขอนำคลิปของ Life Tower ที่โดดเด่น ณ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตมาฝากกันเป็นการส่งท้ายบทความชิ้นนี้ค่ะ

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post เปิดประสบการณ์ Next Cube ใช้สื่อดิจิทัลอย่างไรให้ได้มากกว่า Awareness appeared first on thumbsup.

[Commentary] บทบาทที่ควรจะเป็นของสื่อกับกระแสดราม่า?

$
0
0
โกรธ, anger, drama

โกรธ, anger

คิดว่าคงไม่มีใครปฎิเสธว่า หนึ่งในกิจวัตรประจำวันของพวกเราชาวไทยในวันนี้คือ การคุยคุ้ยเรื่อง “ดราม่า” (จนสื่อมวลชนหลายต่อหลายสำนักพากันพูดว่ายอมรับซะเถอะว่าพวกเราเป็นสังคมนิยมดราม่า) ไม่ว่าจะเป็น ข่าวฆาตกรหั่นศพกลายเป็นเน็ตไอดอล, YouTuber คนดังเปิดศึกวิวาทะกับชุมชนคนรักสัตว์, หรือแม้กระทั่งเรื่องเก่าๆ อย่าง กราบรถกู เหนียวไก่หาย ซึ่งแต่ละเรื่องต้องถือว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ควรจะไปให้ค่าอะไรกับมันมากมายนัก แต่คนก็ยังนิยมจะพูดถึงมัน ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะมันสนุกปาก แต่คำถามหนึ่งที่ผมคิดมานานก็คือ พวกเราทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้ได้บ้าง? ทำอย่างไรที่ “ความดราม่า” มันจะลดลง?

เกี่ยวกับ Blog article นี้: Blog ที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้คือการร่วมเขียน หรือ “Co-blogging”กับผู้อ่าน thumbsup หลายๆ ท่าน วิธีของเราคือการ “ตั้งคำถาม” แล้วขอให้ช่วยกันตอบผ่าน Social Media โดยเราจะคัดเลือกและเรียบเรียงความเห็นที่น่าสนใจมาใส่ไว้ในบทความด้านล่าง ผมเรียงตามลำดับความคิดเห็นตามตัวอักษรชื่อของผู้เขียน แต่ถ้าหากท่านใดสนใจอ่านความคิดเห็นโดยละเอียดทั้งหมด ตามไปได้ที่ Social Post นี้  เพราะรายละเอียดเยอะมากครับ จำต้องตัดออกเพื่อให้น่าอ่านมากที่สุดในรูปแบบบทความ

คำถาม: คุณคิดอย่างไรกับการที่สื่อมวลชนเล่นข่าวเกี่ยวกับกระแสดราม่า? ควรเล่น หรือไม่ควรเล่น เพราะอะไร อย่างไร

– ควรเล่นเพราะอย่างไรมันก็เป็นเรื่องสนุกน่าสนใจ ดีซะอีกเอาไปคุยกับเพื่อนต่อได้

– ไม่ควรเล่นเพราะมันไม่มีค่าอะไร เสียเวลาเปล่าๆ

– ควรเล่น ถ้าคุณเป็นสำนักข่าวหัวสี ซึ่งออกตัวอยู่แล้วว่าเล่นข่าวสีสัน

– ไม่ควรเล่น ถ้าคุณเป็นหนังสือพิมพ์ Broadsheet – ฯลฯ

Attapol Lertlum 

ยี่สิบปีที่แล้ว ผมเคยฟังอาจารย์เสกสรร ประเสริฐกุล บรรยายเกี่ยวกับการทำข่าวกับเทคโนโลยี (ตอนนั้นเรายังไม่มีอินเทอร์เน็ต แต่มีข่าวออนไลน์แล้ว เป็นข่าวที่นำเสนอบนจอห้องค้าหลักทรัพย์ ) ผมชอบคำประโยคหนึ่ง ที่ผมจำจนถึงทุกวันนี้ อาจารย์บอกว่า ไม่ว่าคุณจะมีหน้าที่ส่งข่าวให้เร็วแค่ไหน ต้องจำไว้ว่า “สปีดของเทคโนโลยี ไม่ใชสปีดของมนุษย์”

ในความหมายคือ แม้ว่าเราจะทำข่าวโดยต้องการความเร็วแค่ไหน (สมัยก่อนเราจะเปรียบเทียบการชนะคู่แข่งด้วยความเร็วบนไทม์ไลน์เป็นวินาทีครับ) ข่าวใหญ่แค่ไหนจะไม่มีคุณค่าเลยถ้าข่าวไม่ได้รับการตรวจสอบ หรือเป็นข่าวที่ไม่จริง และยิ่งถ้าข่าวนั้นไม่ได้ให้อะไรกับสังคม มนุษย์เราไม่ได้ต้องการเสพข่าวเร็วขนาดนั้น ในท่ามกลางกระแส เราต้องการสติ ในการรับรู้ข่าวสาร ที่สำคัญคือ ความถูกต้อง

ถ้าเป็นภาษาของอาจารย์สุภา ศิริมานนท์ ปรมาจารย์แห่งวารสารศาสตร์ไทย (ผมตั้งเอง) อาจารย์ใช้คำว่า ความถูกถ้วน ประโยคของอาจารย์เสกสรร และอาจารย์สุภา ใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ วันที่เราส่งข่าว (และภาพ) ได้เอง ด้วยความรวดเร็วและกว้างไกลกว่าเดิม สิ่งที่อาจารย์บอกน่าจะหมายถึง การดำรงหน้าที่ในการให้สติ กับสังคม

จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้านักวารสารศาสตร์ เอาแต่แข่งกันที่ความเร็ว และยอดติดตามชม ถ้าข่าวนั้นไม่ได้ผ่านการไตร่ตรองก่อน แต่นำเสนอเพื่อหวังผลทางการตลาด หรือความนิยม บทบาทของสื่อในกระแสอะไรก็แล้วแต่ คือการ เป็นผู้ให้สติ (ซึ่งคนจะให้สติได้ต้องตั้งสติได้เสียก่อน) กับสังคม ไม่ใช่สักแต่ตอบสนองความต้องการของกระแส เพราะสุดท้ายแล้ว ความน่าเชื่อถือ และการดำรงหน้าที่ของตัวเองมันจะไม่เหลืออะไรเลย เมื่อสิ่งที่คุณส่งออกไปมันช่างไร้ค่า ไม่มีราคา

Armmie Born TobeBrave

ยิปมองว่า เรื่องดราม่าแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น มันก็สะท้อนความสนใจของคนส่วนใหญ่ระดับนึงนะคะ​ เอาจริงๆ เรื่องสักเรื่อง ถ้ามีคนสนใจ แสดงว่ามันมีประเด็นอะไรบางอย่าง ในตัวของเรื่องดราม่านั้นอยู่ ซึ่งประเด็นเหล่านั้น มันก็เป็นหน้าที่ของสื่อ ที่จะสื่อสารประเด็นนั้น ออกสู่วงกว้าง แต่ในฐานะสื่อ ควรจะตระหนักข้อหนึ่งคือ เสียงที่เราพูดมันมีคนได้ยิน มากกว่าเสียงของคนธรรมดา เวลาเราพูด เราก็ต่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

บางคนอยากพูดดังๆให้คนอื่นได้ยินชัดมากที่สุด

บางคนอยากพูดให้คนเอาไปเล่าต่อมากที่สุด

บางคนอยากพูดให้คนสนใจว่าตัวเองเล่าเก่งที่สุด

บางคนอยากพูดให้คนอื่นเห็นปัญหาและมาช่วยเหลือกัน

บางคนอยากพูดเตือนคนอื่นว่าเหตุการณ์นี้ไม่ควรเกิดกับใคร

บางคนพูดความจริง​ทั้งหมดทุกด้าน​​แต่เน้นให้ข้อมูลครบไม่เน้นให้คิดต่อ

ก็เหมือนกับสื่อนั่นแหละค่ะ แต่เพียงว่า สื่อมันมีพลังมากกว่าคนปกติ ซึ่งมันมีผลต่อความคิด มุมมอง และการตัดสินใจ ของคนที่รับสานส์จากสื่อ คนจำนวนมาก มากพอที่จะมีผลต่อสังคมวงกว้างได้ ขอสรุปว่า สื่อไม่ผิดเลยที่จะนำเสนอดราม่า แต่ต้องคิดเอาไว้ว่า การนำเสนอของเรามีผลอะไรกับใครบ้าง มันทำให้สังคมดีขึ้นไหม หรือมีประโยชน์อะไรต่อคนฟังที่รับสารจากเรา เพราะทุกการกระทำมีผลกระทบเสมอ การนำเสนอของสื่อก็เช่นกัน

Art Suriyawongkul

ถ้ามันนำไปสู่ประเด็นอื่นได้ ก็ใช้ประโยชน์จากมัน ดราม่า = attention ถ้าสื่อคิดว่าอยากสื่อสารอะไรที่มันมีประโยชน์ ดราม่าก็เป็นเครื่องมือให้เกาะได้ เช่นเรื่อง เย็ดได้เลี้ยงได้ – คุยต่อเรื่องการทำให้การซื้อถุงยางหรือยาคุมเป็นเรื่องลำบาก (สังคมทำให้อาย ราคาแพง..) การปฏิเสธไม่ใช้ (ไม่สด=ไม่รัก) สังคมที่ผลักจนคนตีกลับ? (ทำไมมีลูกแล้วต้องหมดคุณสมบัติเป็นนักเรียนนักศึกษา)

.. เพียงแต่ว่า ถ้าจะเกาะกระแสทัน สื่อต้องมีมุมมอง ต่อเรื่องพวกนี้มาบ้างแล้ว มีข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลบ้างแล้ว ถึงจะปล่อยเนื้อหาให้ทันกับดราม่าได้ หรือกระทั่งเป็นคนกำหนดวาระต่อ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะดราม่ามันมีแพตเทิร์นและวงรอบปฏิทินของมันอยู่เหมือนกัน ปีใหม่ วาเลนไทน์ เดือนนี้สงกรานต์ จะมีเรื่องอะไร เอ้าเข้าฤดูสอบเข้ามหาลัย รับน้อง พระโค อภิปรายงบประมาณ ลอยกระทง ปีใหม่อีก ไม่ก็ประเด็นซ้ำๆ จาก Instagram, เว็บบอร์ด ดาราแต่งตัวโป๊ คนดังรถชน ทหารปกป้องลูกน้อง ตำรวจทะเลาะแม่ค้า แม่ค้าออนไลน์โกงเงิน ปัญหาคอนโดไม่ก็บริษัทเน็ตกาก ก๊อสซิบที่ทำงาน พวกนี้มันวนๆ ตั้งประเด็นรอคนชงได้เลยครับ

Bank Pholvisutsak

สำหรับสื่อหลายๆ สำนัก Drama = Traffic และ Traffic = Money ผมคิดว่าการที่จะรณรงค์ให้ลด ละ เลิกดราม่าคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นเส้นทางทำกิน ส่วนตัวผมเอง ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับกฏหมายที่จะออกมาเพื่อกำหนด หรือควบคุมสื่อนะครับ สื่อเป็นตัวสะท้อนความคิดของคนในชาติ อยากให้คนไทยเป็นแบบไหน เราควรจะดูแลให้สื่อออกมาในทิศทางนั้นครับ

Goh Chanachai

ผมว่าจริงๆแล้วเรื่องดราม่าสามารถเล่นได้แทบทุกเรื่อง ยิ่งถ้าพิจารณาในเชิง earned media บนโลกโซเชี่ยลแล้วยิ่ง”จำเป็น”ต้องเล่น แต่ความท้าทายคือ “การหามุมเข้า” ให้เหมาะสม น่าสนใจ และที่สำคัญมันต้องสร้างสรรค์ ซึ่งตรงนี้เป็นตัวพิสูจน์ฝีมือและชั้นเชิง ถ้ามันเป็น meme ที่ไม่พาดพิงใคร ใส่เต็มที่ได้เลย ต้องไว สนุกมาก (อันโปรดผมคือ “เมื่อพระเจ้าสร้าง”) แต่ถ้าเป็นเรื่องจริงจัง ต้องระวังเป็นพิเศษ ตรงไหนคือกำลังดี ตรงไหนไม่ถลำลึกเกินไป บาลานซ์ความเป็นกลาง ไม่ขยี้ ไม่ต้อนใครเกินพอดี การหามุมรอบๆเรื่องนั้นมาพูดแทนก็เป็นwayที่ผมชอบมาก แล้วให้ปลายทางเป็นการชี้นำให้สังคมว่า “What we should learn from these” ยิ่งสวยงาม

Patchara Kerdsiri

ควรเล่นตามกระแสและโยงเรื่องเข้าหาสิ่งที่เราถนัดครับ คือใช้มันเป็นเครื่องมือแสดงความคิดสร้างสรรของเราได้ในจังหวะที่ผู้คนกำลังสนใจมัน เรื่องนี้เป็นหลักการเดียวกับการทำเพลงโคเวอร์

New Naveen

ผมมองว่าเรื่องดราม่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ เราหลีกเลี่ยงมันไม่ได้ แล้วก็ต้องอยู่ร่วมกับมันอยู่ที่ว่าจะนำเสนอในมุมไหน ถ้าเอาที่อยากให้เป็นคืออยากให้สื่อคิดถึงคนอ่านเยอะๆ เป็นห่วงคนอ่านหน่อยว่าอ่านแล้วได้อะไร แต่สุดท้ายก็คงบังคับใครไม่ได้ และเชียร์การให้ทางเลือกในการเสพกับการนำเสนอครับ ถ้าอยากจมอยู่กับดราม่าเดิมๆ ก็ทำไป ถ้าเบื่อดราม่าอยากเล่าเรื่องในมุมอื่นก็ทำขึ้นมาใหม่

แต่ก็อย่าลืมว่าทุกการกระทำก็มีผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของสื่อด้วยเหมือนกัน แต่จะมีสื่อบางประเภทที่เล่นดราม่าจนลำเส้นไปเช่น การไปขุดคุ้ยถึงเรื่องส่วนตัว ไปคุกคามความเป็นส่วนตัว เปิดเผยใบหน้าเหยื่อที่เป็นผู้เสียหาย หรือก่อดราม่าซะเองด้วยการพาดหัวให้คนเข้าใจผิด ถ้าเจอสื่อที่ทำตัวแบบนี้ก็หยุดแชร์ หยุดส่งต่อ ร้องเรียนได้ก๊ร้องเรียนเลย ผมเชื่อว่ายิ่งถ้ามีสื่อหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันด้วยมากเท่าไหร่ คอนเทนต์ของสื่อกระแสหลักจะพัฒนาตามไปเองครับ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือการกำหนดจรรยาบรรณสื่อ การปลูกฝังเรื่องการรักษาสิทธิ์ตัวเองและเคารพสิทธิ์ผู้อื่น

Nunchavit Chaiyapaksopon

ความเห็นของผมคือ “ไม่ออกความเห็นใดๆ” ครับ ผมไม่แสดงความคิดเห็นใดๆต่อดราม่าต่างๆบนโลกออนไลน์มาเป็นปีแล้วครับ ดราม่าเรารับรู้ เราเผือก เราคุยแลกเปลี่ยนกับคนในบ้านก็พอ เราไม่ต้องไปสนับสนุนสื่อหลักที่ดราม่า จริงอยู่ว่าเราอ่าน แต่เราไม่แชร์ ไม่บอกต่อ ไม่เอามาวิจารณ์ บนดราม่าฆาตกร ผมก็อ่าน read only แต่ไม่แสดงความคิดเห็น ไม่ comment ไม่แชร์ ไม่บอกต่อ ไม่คิดลบ แค่รู้ว่าตอนนี้คนเป็นยังไง เราทำตัวเราให้ดีที่สุด สังเกตว่า จะดราม่าอะไร เราก็ทำรีวิวของเราตามปกติ เพราะอะไรเหรอ เราอยากให้คนเป็นเพื่อนเรา ติดตามอะไรล่ะ? หัวสีจะทำก็เรื่องของเขา เราก็อ่าน เสพย์ มนุษย์ลดละตรงนี้ไม่ได้ แต่หักใจไม่ผสมโรงด่าได้

ทีนี้ ถ้าคิดว่าไม่ควรเล่น คือเราควรไปด่าเขาเหรอ? เราอยู่เฉยๆ ไม่สนับสนุน ไม่แชร์ ไม่เม้นต์ จริงอยู่ว่าอ่านให้รู้ ไม่ใช่ด่าตามกันไป เรื่องแมว เราก็ดูคลิปต่างๆ จนจบ แล้วก็ไม่แสดงความเห็นออนไลน์ เราคุยกันในบ้านเหมือนแลกเปลี่ยนเรื่องราวรอบตัวกันตามปกติ สื่อที่ผมตามมาหลายปีหลังๆนี้ก็คือ จส.100 อ่านเอา Fact นอกนั้น กดดูไปเรื่อยจาก LINE Today อ่าน เสพย์อย่างเมามัน แล้วเงียบๆไว้ครับ เราห้ามใครไม่ได้ เราอย่าไปด่า อย่าไปว่าใคร แคมเปญ MTD 101 ที่ผมเคยร่วมเมื่อหลายปีก่อน สอนให้เรา “เริ่มจากตัวเราเอง” อย่าไปว่าใคร แค่รู้ว่าใครเป็นยังไงก็พอ

Thiti Wiwatthanathorn

ในส่วนคำถามที่ว่าสื่อมวลชนควรเล่นข่าวดราม่าด้วยไหม เนื่องจากข่าวดราม่าคนสนใจเยอะ เป็นกระแสของสังคม ข่าวพวกนี้ขายได้ ยิ่งเร็ว แรง ลึก คนยิ่งชอบ สื่อก็ยิ่งอยากจะขายข่าว แต่สื่อมีคนติดตามเยอะ มีอิทธิพลในการชักจูงความคิดคนได้ง่าย ดังนั้นถ้าจะเล่นข่าวดราม่าควรเป็นในลักษณะการนำเสนอข่าวให้ได้รับรู้ ก็น่าจะเพียงพอ อย่าละเมิดพื้นที่​ ความเป็นส่วนตัวของผู้เสียหาย หรือชี้นำความคิด พาดหัวข่าวกับเนื้อหาคนละทางเพียงเพื่อต้องการ ยอดอ่าน ยอดคลิก ต้องการเกาะในกระแสครับ ส่วนในฐานะคนอ่านข่าวแบบผม ขอทำได้แค่ตามอ่านและคิดตาม หาแหล่งข้อมูลอ้างอิง ถ้าอะไรไม่จรรโลงสังคม ก็ปล่อยผ่าน รอให้เงียบไปครับ

Wannam Pantip

คุณคิดอย่างไรกับการที่สื่อมวลชนเล่นข่าวเกี่ยวกับกระแสดราม่า? – ปลง เหนื่อยหน่ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก แต่รู้ว่าในโลกของยุคข้อมูลข่าวสารไหลบ่า ใครๆ ก็อยากเล่นกระแส แต่ก็ต้องควรมีขอบเขต ควรเล่น หรือไม่ควรเล่น เพราะอะไร อย่างไร – ถ้าเป็นสำนักข่าวหลัก ก็ไม่ควรเล่น แบ่งแยกหน้าที่ แบรนด์ ตัวตน หรืออะไรก็ตามแต่จะเรียก ให้ชัดเจนไปเลย ว่าคือสำนักข่าวหลัก มืออาชีพ ถ้าจะเล่นกระแส ต้องเล่นและนำเสนออย่างมีแง่คิด มีสาระ มีชั้นเชิง ไม่ใช่ใช้พาดหัวดึงคนเข้าเว็บ ใครจะเล่น ก็เป็น tabloid ไปเลย วางตัวให้ชัดเจนไปเลย

Worrathas Wongthai (Jetboat)

1. “หนังสือพิมพ์หัวสี ความคิดรากเหง้าน่าจะเท่ากับเรื่องของชาวบ้านคือสารของเรา” คือคงไปห้ามไม่ได้อยู่แล้วที่เขาจะเล่นประเด็นนั้น เพราะมันมี อุปสงค์และอุปทาน การที่เราบอกกัน Feed ว่า เฮ้ย..อย่าไปสนใจเลยเรื่องไร้สาระ เอาเข้าจริงคือ ชุดความแบบนี้มีจำนวนกลุ่มก้อนของคนอยู่เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับจำนวนส่วนใหญ่ในประเทศ

2. เราทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง? ตัวอย่างที่สื่อบางหัวหยิบเรื่องเปรี้ยวมาอธิบายเชิงจิตวิทยา นั่นคือสิ่งที่น่าจะเหลือเผื่อที่ให้คนในสังคมมองมุมอื่นบ้าง แต่ก็นั่นล่ะมันก็แค่กระแสบางๆ ในมื่อสื่อใหญ่ย่านบางนายังตื่นเต้นดีใจที่ถ่ายทอดสดการจับตัวเปรี้ยวได้เรทติ้งมหาศาล

3. อย่างเคส YouTuber เปิดเรื่องกับคนรักสัตว์ อันนั้นมันเรื่องคนโหนกระแส แล้วมันมีวิกฤติจากตัวแบรนด์ที่เลือกใช้คนแล้วดันตอบแบบ “คนไม่เป็นมวย” แล้วมีตัวละครอื่นๆ ร่วมผสมโรงอีก

จากความคิดเห็นทั้งหมด พอจะสรุปสั้นๆ ได้ครับว่า แม้ข่าวดราม่าจะดูไม่มีประโยชน์อะไร แต่เราก็ปฎิเสธความจริงไม่ได้ว่าเราก็สนใจมัน แต่สื่อมวลชนควรมีขอบเขตในการนำเสนอ มีมาตรฐานที่ชัดเจน ตลอดจนรสนิยมในการนำเสนอ เช่น จะมองหาแง่มุมต่อยอดจากดราม่าเหล่านั้นในมุมมองที่ว่าเราเรียนรู้อะไรจากดราม่าเหล่านี้ เป็นต้น

 
Source: thumbsup

The post [Commentary] บทบาทที่ควรจะเป็นของสื่อกับกระแสดราม่า? appeared first on thumbsup.

Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) สำคัญอย่างไรต่อการเติบโตของ Startup

$
0
0

 

ปัจจุบัน Startup ถือได้ว่าเติบโตอย่างมากในไทย ซึ่งทุกวันนี้ Startup ส่วนมากมีคุณภาพที่ดีขึ้นมาก แต่มีอยู่ประเด็นที่พูดถึงกันมากว่าการเป็น Startup นั้น จำเป็นไหมที่ต้องเข้าโรงเรียน หรือที่เรียกว่า Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) ที่ตอนนี้มีหลายองค์กรในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทกันมากขึ้น ทั้งโทรคมนาคมและธนาคาร อย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มี Digital Ventures (DVA) เป็นต้น โดยผู้ที่จะมาไขปัญหาเหล่านี้ได้แก่ผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัปที่เราคุ้นหน้ากันดี

• คุณชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง co-working space แห่งแรกในไทย อย่าง Hubba และปัจจุบันนี้เขาก็ได้รับบทบาทเป็น Head of Accelerator แห่ง Digital Ventures ในเครือ SCB
• คุณกัน – เจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จากบริษัท Digital Ventures จำกัด
• คุณเคี้ยว – อนวัช คิมหสวัสดิ์ Founder จาก One Stock Home บริการซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์
• คุณนพ – พงศธร ธนบดีภัทร COO จาก Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์
• คุณเอิร์ธ – สรณัญช์ ชูฉัตร CEO จาก ETRAN ผู้ผลิตมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าเจ้าแรกของไทย

(จากซ้ายไปขวา) คุณนพ – พงศธร ธนบดีภัทร COO จาก Refinn, คุณเคี้ยว – อนวัช คิมหสวัสดิ์ Founder จาก One Stock Home และคุณชาล เจริญพันธ์ Head of Accelerator แห่ง Digital Ventures ในเครือ SCB

 

ที่มาที่ไปของ DVA หรือ Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup)

Accelerator ในต่างประเทศมีมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ในไทยดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ในช่วง 2-3 ปีนี้ จะเห็นว่ามีหลายๆ องค์กรในไทย ได้ setup หน่วยงาน accelerator ขึ้นมา ซึ่งพิสูจน์กันว่า Accelerator นั้นจะอยู่รอดหรือไม่ใช้เวลาประมาณ 3 ปีเช่นเดียวกันกับ Startup จุดสำคัญที่ Accelerator สามารถส่งเสริม Startup คือให้ความรู้ที่ช่วยเหลือ Startup ได้จริง ๆ พอจบโครงการแล้วยังติดตามผลต่อและดูแลจนถึงวันที่สำเร็จ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ นี้มาจากการดูงานจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ แล้วนำจุดแข็งที่มีใน Startup มาเสริมให้แน่นขึ้น เป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่พาไปให้ถึงฝั่งฝัน

(จากซ้าย) คุณคุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้ง อีทราน (ไทยแลนด์) และคุณเจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จาก Digital Ventures

จุดที่ Startup ตัดสินใจเข้า Accelerator

ถือว่าไม่ง่ายเลยที่ Startup จะสามารถดำเนินไปได้ดีตลอดรอดฝั่ง ตั้งแต่มีไอเดียตั้งต้น จนถึงการรวมกลุ่มคนที่สนใจมาทำ เริ่มทดลองใช้งาน พอมาถึงจุดหนึ่งที่จำนวนลูกค้าเริ่มคงที่ มี 2 ทางให้เลือกคือ หาทางเพิ่มลูกค้าด้วยตัวเอง หรือลองเข้า Accelerator เพื่อหาความรู้เพิ่ม

เหตุผลหลักที่เหล่า Startup ตัดสินใจสมัครเข้า Accelerator คือ ยังขาดความรู้ในบางส่วนหลังจากที่ทดลองไอเดีย เช่น เทคโนโลยี การเงิน กฎหมาย ฯลฯ แล้วต้องการโค้ชที่คอยแนะนำและชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของ Startup ได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้การดำเนินการเป็นไปได้ด้วยดีจากที่มีไอเดียที่ดีอยู่แล้วอีกด้วย

เข้า Accelerator แล้วได้มากกว่าที่คิด

จากที่คิดแค่ว่าจะมาเพิ่มความรู้มาพัฒนา Startup และต้องการโค้ชนั้น ถือได้ว่าสิ่งที่ Startup ได้จาก Accelerator นั้นได้มากกว่าที่คาดคิดไว้มาก เปรียบเหมือนได้อยู่โรงเรียนสอน Startup ที่แท้จริง ที่มีเพื่อนร่วมทางเป็น Startup จากหลายสาขาอาชีพ มีความถนัดต่างกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงขนาดจัดคลาสเรียนสอนกันเอง ถือว่าเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่ต่างคนต่างได้เรียนรู้ แชร์ความรู้กันจนตกตะกอน จัดว่าเป็น “MBA for Startup”

บ่มเพาะ Startup นานถึง 6 เดือนเพราะอะไร

อันที่จริงแล้วระยะเวลา 6 เดือนนั้นอาจจะสั้นเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะเหล่า Startup ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย จึงมีเวลาไม่มากนัก ซึ่ง 6 เดือนนี้ถือเป็นการติวเข้มชาว Startup ให้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้จริง ๆ เน้นตั้งแต่พื้นฐานความรู้ทั้งหมดในการทำ Startup อย่างเช่น การทำบัญชี การทำสไลด์สำหรับนำเสนอ การหา Partner ฯลฯ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทุกสิ่งอย่างและดัน Startup ให้ไปได้ไกลที่สุด

ความประทับใจที่มากกว่าที่คิด

ความประทับใจในโครงการที่มีกำลังใจจากทั้งเพื่อนในทีม เพื่อนต่างทีมที่คอยให้กำลังใจ หรือแม้แต่ทีมงานของ DVA ที่ดูแลกันจนถึงขอบเวทีก่อนขึ้นไปนำเสนองานด้วยซ้ำ เหมือนที่คุณเอิร์ธจะต้องนำมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าขึ้นเวที ทีมงานก็คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เปรียบแล้ว ทีมงาน DVA เป็นเหมือนกูรูด้าน Startup ที่ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้ลองผิดลองถูกไปด้วยกันจนหลังจากจบโครงการก็ยังดูแลกันอยู่

เหตุการณ์ที่ Startup ต่างช่วยกันสร้างจริง ๆ

จากการที่สนับสนุนให้ Startup ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น ทำให้เกิดการช่วยเหลือขึ้นมากจริง ๆ อย่าง One Stock Home แอปพลิเคชันที่ขายวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมา ได้คุยกับทาง Peer power (Marketplace กู้ยืมเงินแบบ Peer-to-peer ระหว่างลูกค้าในไทย) ได้ทำกองเงินให้ผู้รับเหมาได้ใช้จ่ายก่อนและมีเครดิตเงินคืนกับทาง Peer power ได้ โดยในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง Seekster (บริการ On-demand Marketplace ระหว่างผู้บริโภคและ SMEs) อีกด้วย หรือการที่ Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์ ซึ่งคุยกับลูกค้าตลอดเวลา อยากจะติดต่อกับลูกค้าได้ง่ายขึ้นจึงคุยกับทาง Convolab (AI Chatbot เพื่อแก้ปัญหาให้แต่ละธุรกิจตามความต้องการ) ดึง Chatbot เข้ามาช่วยตอบ ในจุดนี้ทางโครงการได้เลือก Startup ทั้ง 10 ทีม ที่สามารถช่วยเหลือกันได้อยู่แล้ว รวมทั้งช่วยกันออกความคิดเห็นเวลาแต่ละทีมนำเสนองานทั้ง ๆ ที่เป็นคู่แข่งกัน

คุณชาล เจริญพันธ์ Head of Accelerator และคุณเจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จากบริษัท Digital Ventures จำกัด

ขอแค่วิสัยทัศน์ดีก็มาสมัครได้

ถ้าถามว่า Startup แบบไหนที่สมัครโครงการ DVA นี้ได้ ขอแค่มีเทคโนโลยีที่ดี แปลกใหม่ น่าสนใจ และพร้อมค้นคว้าหาข้อมูลไปด้วยกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ วิสัยทัศน์และความคิดของผู้สมัครเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เก่งไม่เก่งไม่สำคัญ ขอแค่เชื่อมั่นในไอเดียและเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามได้ดี แต่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีแรงขับเคลื่อนสูง เปิดใจรับการเรียนรู้ก็สามารถสมัครได้

นับได้ว่าได้รับความรู้และแรงบันดาลใจกันไปเต็มๆ สำหรับ Startup และคนที่สนใจธุรกิจ Startup ทุกท่าน ยิ่งถ้าได้เข้า Accelerator อย่าง DVA แล้ว ยิ่งส่งเสริมให้ Startup เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น สามารถติดตามความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Startup และเทคโนโลยีฟินเทคได้ต่อที่ FB page : DigitalVenturesTH

ส่วน Startup ใดที่สนใจอยากจะทำให้ธุรกิจเติบโต อย่าลืมสมัครเข้าโครงการ Digital Ventures Accelerator ได้ที่ www.dv.co.th/DVA ซึ่งจะหมดเขตรับสมัคร 15 ก.ค. นี้

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) สำคัญอย่างไรต่อการเติบโตของ Startup appeared first on thumbsup.


Digital PR คืออะไร

$
0
0
public relations

public relations

บทความนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของบทความ PR และ Marketing แตกต่างกันอย่างไร และเราควรปรับปรุงมันอย่างไรในยุคดิจิทัล (ตอนที่ 2) ที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อปี 2016 แต่ผมขอนำบางส่วนมาอัปเดตให้เหมาะสมกับปี 2017 มากขึ้นนะครับ จุดประสงค์ของบทความนี้คือการใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับคนที่ต้องการจะทราบว่า Digital PR คืออะไร มีแนวทางปฎิบัติอย่างไรบ้าง

Digital PR คืออะไร

Digital PR คือกระบวนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์แก่องค์กร โดยส่วนมากคนเหล่านั้นคือ ลูกค้า, พนักงาน, นักลงทุน, คู่ค้า, พันธมิตร, นักข่าว, บล็อกเกอร์/ผู้มีอิทธิพลทางความคิด, ชุมชนคนรักแบรนด์ หรือพูดง่ายๆ ว่าทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรของเรา โดยนักประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำ 4 อย่างต่อไปนี้

  • Conventional PR
  • Content Marketing
  • Social Media Marketing
  • Search Engine Marketing (โดยเฉพาะ SEO)

จะเห็นได้ว่าการทำงานของ Digital PR เล่นอยู่กับเรื่องของ ‘คน’ เราจึงต้องวางแผนอย่างมีกลยุทธ์ และสร้างความสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องในโลกดิจิทัล (digital stakeholders) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ แบรนด์ที่ดีในใจผู้บริโภค ความพึงพอใจของลูกค้า การบอกต่อในแง่ดี การเพิ่ม conversion rates การเพิ่ม Return on Investment (ROI) ฯลฯ

แต่ถ้าจะระบุให้เห็นภาพกันชัดๆ ไปเลย คงต้องมาเปรียบเทียบกับ PR แบบเดิม กันสักหน่อย

PR แบบเดิมเขาทำอะไรอย่างไรบ้าง?

  • เขียน Press Release เกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือสิ่งใหม่ของบริษัท
  • Pitching เรื่องทางบวกเกี่ยวกับบริษัทให้กับสื่อมวลชน (ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์)
  • สรรหาโอกาสในการไปพูดให้กับผู้บริหารขององค์กร ในอีเวนท์ของอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
  • สร้างความสัมพันธ์กับสื่อ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
  • จัดการและอัปเดตข้อมูลข่าวสารของบริษัท
  • สร้าง talking points และสื่อสารกับสื่อเกี่ยวกับวิกฤตของบริษัท
  • อื่นๆ ที่อาจจะไม่อยู่ในสิ่งที่จะต้องทำประจำวัน เช่น การโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชน

แค่นี้จริงๆ ก็เยอะล่ะครับ… ว่าแต่ Digital PR ทำอะไรใหม่ๆ เพิ่มเติมได้บ้าง?

Digital PR ทำอะไรแตกต่างไปจาก PR แบบเดิมบ้าง? (ผมขอเอาขอบข่ายงาน PR แบบเดิมมาตั้งอีกที แล้วเติมในสีส้มนะครับ จะได้เห็นภาพชัดขึ้น)

  • เขียน Press Release และทำ Content ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือสิ่งใหม่ของบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • Pitching เรื่องทางบวกเกี่ยวกับบริษัทให้กับสื่อมวลชน (ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์) รวมถึงการสื่อสารแบบ Real-time กับ Digital stakeholders คนอื่นที่เข้าถึงโลกออนไลน์ได้ เช่น นักลงทุน นักข่าวในอุตสหกรรมนั้นๆ
  • สรรหาโอกาสในการไปพูดให้กับผู้บริหารขององค์กร ในอีเวนท์ของอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้าง Personal Branding ของผู้บริหาร และการไปร่วมบทสนทนาออนไลน์ของ Digital stakeholders คนอื่นที่เข้าถึงโลกออนไลน์ได้
  • สร้างความสัมพันธ์กับสื่อ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งผู้มีอิทธิพลทางความคิดนั้นมีทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ รวมไปถึง Online community ที่สนใจสินค้าและบริการของเราด้วย เช่น ถ้าเราเป็น Toyota ก็ควรจะดูแลกลุ่มคนรักรถของแบรนด์ด้วย
  • จัดการและอัปเดตข้อมูลข่าวสารของบริษัท โดยรวม Social Media, Online Newsroom ไว้ด้วย
  • สร้าง talking points และสื่อสารกับสื่อเกี่ยวกับวิกฤตของบริษัท รวมถึงการทำงานประสานกับทุกแผนกของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ User Experience โดยรวม ไม่ใช่ทำงานเป็นแผนกๆ เหมือนยุคก่อน
  • อื่นๆ ที่อาจจะไม่อยู่ในสิ่งที่จะต้องทำประจำวัน เช่น การโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชน
  • ให้ความสำคัญกับ Audience ของแบรนด์ ด้วยการสร้างฐานแฟนให้กับตัวเองผ่าน Social Media
  • รู้วิธีในการจัดการชื่อเสียงขององค์กรในยุคดิจิทัล ด้วยการทำ Social Crisis Management, Influencer Marketing, Content Marketing, SEO (Search Engine Optimization), และ SEM (Search Engine Marketing)

คำแนะนำเกี่ยวกับแนวปฎิบัติ Digital PR: 

มืออาชีพทางด้าน PR ยุคใหม่ นอกจากมีความเข้าใจ ‘คน’ แบบที่ PR ยุคแรกมีแล้ว เรายังควรมีความรู้ความเข้าใจว่า เทคโนโลยีดิจิทัลกระทบการสื่อสาร และชีวิตมนุษย์อย่างไร และเมื่อเข้าใจแล้ว เราจะสามารถมองภาพรวมออก

คำว่าเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นกว้าง ไม่ใช่เพียงแค่ Social technologies, Search technologies, Content Creation แต่ยังรวมไปถึงการทำความเข้าใจ Mobile Operating System, Data Analysis, Algorithm ของ Platform ต่างๆ, User Experience ของเว็บ, Smart Device ซึ่งความรู้ความเข้าใจเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมืออาชีพทางด้าน PR และ Marketing ยุคใหม่จะต้องมี Digital lifestyle หรือเป็นคนที่ชื่นชอบและสนุกกับการใช้เทคโนโลยีในการใช้ชีวิต

ไม่เช่นนั้นต่อให้พยายามเรียนรู้แนวปฎิบัติยุคใหม่มากเพียงไร ก็จะไม่ ‘อิน’ กับเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตเราอยู่ดี

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีการสื่อสารของคน พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนตาม โครงสร้างองค์กร ตลอดจนแนวปฎิบัติก็ต้องเปลี่ยน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับการวัดผลด้วย

การวัดผล KPI ของ Digital PR 

การวัดผลจะเริ่มต้นจากการมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนก่อน ลองคิดง่ายๆ ว่าเหมือนกับเล่นฟุตบอล ถ้าเราไม่มี Goal เราจะยิงประตูได้อย่างไรล่ะ จริงไหมครับ? แต่ก่อนจะตั้ง KPI ก็ต้องตั้งเป้าหมายกันก่อน นี่คือตัวอย่างของเป้าหมาย และ KPI คร่าวๆ ฝั่ง Digital Marketing นะครับ

  • สร้างการรับรู้ของแบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (KPI หลายๆ ครั้งจะเป็น Performance ของ Media เทียบกับยอดขาย หรือการ Survey ด้านการจดจำสื่อ)
  • กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงปัญหาและอยากหาข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม (การวัดกราฟ Search Volume, การ Survey ด้านการจดจำสื่อ)
  • อธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการให้ถูกต้อง
  • ส่งเสริมการขาย (KPI ก็จะเป็นยอดขายเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่)
  • ช่วยเหลือลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว (KPI ก็จะเป็นยอดซื้อซ้ำ)
  • ฯลฯ

แต่ถ้าเราลองมาดูเป้าหมาย และ KPI ของฝั่ง Digital PR จะเห็นได้ว่าแตกต่างครับ ของฝั่ง PR จะออกแนวชื่อเสียง (Reputation)

  • สร้างการรับรู้เชิงบวกของแบรนด์ให้กับสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง (KPI เป็น Sentiment value คิดเป็น % ความรู้สึกเชิงบวก กลาง ลบ  // Survey // มีจำนวน social media followers เพิ่มขึ้นหรือไม่?)
  • สิ่งที่ผู้บริหารได้พูดในงานอีเวนท์ถูกสื่อนำไปพูดถึงต่อในทางที่ดีหรือไม่ (KPI เป็น Sentiment value คิดเป็น % ความรู้สึกเชิงบวก กลาง ลบ // จำนวนของบุคคลที่อยู่ในอีเวนท์ที่ได้รับสาร)
  • การได้รับรางวัลจากอีเวนท์ของอุตสาหกรรมนั้นๆ (KPI เป็นจำนวนรางวัล)
  • การได้รับการพูดถึงในเชิงบวกจาก social media followers, นักข่าว, influencers ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในภาพรวม (KPI เป็น Sentiment value คิดเป็น % ความรู้สึกเชิงบวก กลาง ลบ // จำนวน social media followers เพิ่มขึ้นหรือไม่)

PR บางท่านอาจจะบอกว่าเรายังมี KPI อีกแบบที่ใช้กันอยู่ นั่นคือ “PR Value” ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการเปรียบเทียบแบบ Advertising Value Equivalency (AVE) นั่นอาจจะเป็น KPI ที่วงการ PR ไทยควรพิจารณาปรับเปลี่ยน เพราะที่มาของการวัดแบบนี้ เกิดจากการวัดขนาดของพื้นที่บนสื่อสิ่งพิมพ์ที่พูดถึงแบรนด์ของเรา เปรียบเทียบกับการซื้อพื้นที่ข่าวนั้นด้วยงบการตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามอย่างยิ่งในวันที่สื่อสิ่งพิมพ์กำลังเสื่อมถอย และบางส่วนทยอยปิดตัว

และทั้งหมดนี้คือนิยามเบื้องต้นของ Digital PR ในทัศนะของผมครับ ใครมีแนวคิดอื่นๆ สามารถพูดคุยกันใต้บทความนี้ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ

 
Source: thumbsup

The post Digital PR คืออะไร appeared first on thumbsup.

อุตสาหกรรมอาหาร‘60 สุดปัง ยูบีเอ็มเตรียมผลักดันผู้ประกอบการไทยให้เฉิดฉายด้วยงาน Fi Asia 2017

$
0
0

ด้วยการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ากว่า 900,000 ล้านบาทจากการส่งออกของภาคเกษตรและอาหาร ส่งผลให้อุตสาหกรรมศักยภาพของไทยอย่างอุตสาหกรรมอาหารนั้นคึกคักมาตลอดตั้งแต่ต้นปี ทั้งมีการเกิดใหม่เพื่อชิงส่วนแบ่งในตลาด การรีแบรนด์สร้างกระแสเอาใจผู้บริโภค หรือเน้นผลิตเพื่อการส่งออกในโวลุ่มใหญ่ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกได้อย่างดีว่าปีนี้เป็นปีทองของอุตสาหกรรมอาหารไทย และแน่นอนว่าเป็นอีกปีที่ต้องทุ่มแรงในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารทั้งของไทยและทั่วเอเชียมามากกว่า 15 ปี คุณรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ผู้ประกอบการไทยนั้นมีวัตถุดิบที่พร้อม ฐานการผลิตที่พร้อม แต่ยังขาดเรื่องของการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี หรือส่วนผสมอาหารที่มีคุณภาพเข้ามาใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสร้างมาตรฐาน สร้างเอกลักษณ์ การเพิ่มมูลค่า และความน่าสนใจให้เกิดขึ้นในสินค้า 

คุณรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์

“การมีสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ดี สะอาด มีมาตรฐาน ยังไม่เพียงพอต่อการแข่งขันทั้งในไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ เนื่องจากสินค้าที่ดีหรือมีมาตรฐานเหล่านี้มีอยู่เต็มตลาด ซื้อแบรนด์อะไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อของเรา ดังนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคตรงมาซื้อขนมปังของเรา เพราะความนุ่มที่อยู่ได้นาน หรือเพราะไส้ครีมชีสที่รสชาติอร่อย ทำอย่างไรให้นึกถึงสินค้าของเราเมื่ออยากดื่มชากุหลาบ เพราะมีกลิ่นหอมของกุหลาบจริงๆ ไม่ว่าจะซื้อดื่มที่สาขาไหนก็เป็นรสชาติเดียวกัน มีกลิ่นหอมเท่ากัน หรือจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าของเราท่ามกลางเครื่องดื่มฟังก์ชั่นแนลดริงค์ที่เรียงรายอยู่ในตู้ ต้องเอากลิ่นลาเวนเดอร์มาใส่เพิ่ม หรือเติมสารอาหารพิเศษที่ช่วยผ่อนคลายทำให้อารมณ์ดี เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาและวางแผนในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของตน ซึ่งก็สามารถแก้ไขและหาทางออกได้ด้วยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และส่วนผสมอาหารที่จะเข้ามาเติมเต็มคุณภาพ ช่วยสร้างจุดเด่นให้กับสินค้า”

เพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้พัฒนาศักยภาพ อัพเดตข้อมูลอุตสาหกรรมอาหาร และเจรจาธุรกิจในระดับนานาชาติ ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จึงได้จัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย 2017 หรือ งานเอฟไอ เอเชีย งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2560 ไบเทค บางนา โดยในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 22 หลังจากประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากกรุงจากาตาร์ อินโดนีเซีย เมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นการจัดงานสลับกันในระหว่างประเทศที่ตั้งเป้าเป็นครัวโลกกับประเทศที่มีตลาดและผู้บริโภคจำนวนมากที่สุด ซึ่งในปีนี้ มีผู้ตอบรับเข้าร่วมแสดงงานแล้วกว่า 700 ราย จาก 56 ประเทศทั่วโลก และคาดหวังผู้เข้าชมงานกว่า 17,000 ราย โดยงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการไทยทั้งขนาดใหญ่ SMEs หรือ Start-Up ที่มีแผนจะพัฒนาต่อยอดธุรกิจ หรือต้องการสร้างคู่ค้าระดับนานาชาติ 

“งานฟู้ดอินกรีเดียนท์เป็นงานที่เริ่มจัดในยุโรปเป็นที่แรก เมื่อปี ค.ศ.1986 ซึ่งความสำเร็จของงานในยุโรปนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปีจนในปัจจุบันงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เป็นงานปักหมุดที่ทุกคนในอุตสาหกรรมอาหารของฝั่งยุโรปต้องมาร่วมงานเพื่ออัปเดตเทรนด์ นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือหาส่วนผสมอาหารใหม่ๆ ไปใช้พัฒนาสินค้าของตน หลังจากความสำเร็จนี้ที่ทุกคนให้การยอมรับ ทางยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) ซึ่งเล็งเห็นถึงศักยภาพการผลิตอาหารของทางฝั่งเอเชียที่มีไม่น้อยไปกว่าใคร จึงได้เริ่มจัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชียขึ้นในปี พ.ศ.2538 โดยจัดสลับกันระหว่างไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทั่วเอเชีย และประสบผลสำเร็จจนต้องขยายงาน และเพิ่มพื้นที่จัดงานในทุกปี”

โดยไฮไลท์ของงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชียในปีนี้ เป็นการมุ่งเน้นนำเสนอนวัตกรรมในการใช้ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการให้เกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการจัด Innovation Zone โซนจัดแสดงนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มจากเทรนด์อาหารที่น่าสนใจ การประกาศผลการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (Start-up Innovative F&B Product Competition) ให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ การจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อการพัฒนานวัตกรรมส่วนผสมอาหารสำหรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมด้วยหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fiasia.com
 
Source: thumbsup

The post อุตสาหกรรมอาหาร‘60 สุดปัง ยูบีเอ็มเตรียมผลักดันผู้ประกอบการไทยให้เฉิดฉายด้วยงาน Fi Asia 2017 appeared first on thumbsup.

นักการตลาดควรรู้อะไรเกี่ยวกับ Samsung Galaxy Note 8?

$
0
0

 

ไม่ใช่แค่คุณสมบัติเครื่อง ไม่ใช่แค่ราคาขาย แต่สิ่งที่นักการตลาดจะได้รับรู้จากอีเวนท์เปิดตัวสมาร์ทโฟนใหม่ของซัมซุงอย่าง Samsung Galaxy Note 8 คือเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถบอกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกอนาคตได้เป็นอย่างดี

หลายคนอาจทราบดีอยู่แล้วว่า Galaxy Note 8 เปิดตัว พร้อมกล้องคู่ Dual Camera มีระบบกันภาพสั่น 2 ชั้น Dual OIS จัดเต็มแรม 6GB บนหน้าตาดีไซน์แบบเดียวกับ Galaxy S8 แต่ปรับขนาดหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น ปรับมุมที่ขอบจอให้โค้งน้อยลง กำหนดการจำหน่ายจริงคือ 15 กันยายน ราคาเริ่มต้น 930 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 31,000 บาท กำหนดการเริ่มสั่งจองคือ 24 สิงหาคม 2017

สิ่งที่นักการตลาดควรรู้เรื่องแรกคือราคา สนนราคาไม่ธรรมดาของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่จากซัมซุงถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง iPhone 7 ที่เริ่มต้นในราคา 650 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 21,700 บาท รวมถึง S8 ที่เริ่มต้นจำหน่าย 750 เหรียญสหรัฐ (ราว 25,000 บาท)

เรื่องนี้นักวิเคราะห์มองว่าเป็นไปตามแนวโน้มใหม่ ที่ราคาสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปในตลาดโลกจะขยับขึ้นสู่หลัก 1,000 เหรียญสหรัฐ จุดนี้ราคาของ iPhone รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวในไม่กี่สัปดาห์นี้ ก็คาดว่าจะยึดหลัก 1,000 เหรียญสหรัฐเช่นกัน

เรื่องที่ 2 คืองานเปิดตัว Note 8 ในนิวยอร์กนั้นถูกตั้งข้อสังเกตว่าซัมซุงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี VR เหมือนในงานเปิดตัวสินค้ารุ่นก่อนหน้า ทำให้ Note 8 ไม่มีโปรโมชันลดราคา เพื่อยั่วใจให้ผู้ที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ VR ที่บ้าน สามารถซื้ออุปกรณ์สวมศีรษะเทคโนโลยีเสมือนจริง Gear VR รุ่นใหม่ในราคาพิเศษ

อีกเหตุผลหนึ่งที่แสดงว่าซัมซุงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี VR เต็มที่ คือ Note 8 ไม่รองรับกับอุปกรณ์รุ่นเก่า งานนี้ซัมซุงใช้วิธีออก Gear VR รุ่นใหม่สำหรับใช้งานกับ Note ที่มีหน้าจอขนาดยักษ์ 6.3 นิ้วโดยเฉพาะ โดยโชคยังดีที่ Note 8 สามารถทำงานได้กับอุปกรณ์ VR ค่ายพันธมิตรอย่าง Google Daydream เช่นเดียวกับ S8 และ S8+

เรื่องที่ 3 คือซัมซุงเปลี่ยนไปวางเดิมพันเรื่องกล้องถ่ายภาพ 360 องศา จุดนี้รายงานระบุว่าผู้สั่งจองจะได้รับของแถมอย่างกล้อง Samsung Gear 360 Camera ฟรีแทน

ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจแสดงว่าซัมซุงหนีมาให้ความสำคัญกับการสร้างเนื้อหาเสมือนจริง ซึ่งคาดว่าจะเป็นแนวโน้มสำคัญในวงการสื่อดิจิทัลอนาคต

เรื่องที่ 4 คือความนิยมใน Note 8 ความร้อนแรงของสมาร์ทโฟนใหม่ซัมซุงสะท้อนชัดเจนบนยอดชมวิดีโอเปิดตัว Note 8 ยอดชมวิดีโอบนเพจ Facebook ของ Samsung Mobile นั้นทะลุล้านเรียบร้อยในเวลาไม่ถึง 6 ชั่วโมง แซงหน้ายอดชมบน YouTube ที่ยังมีไม่ถึง 8 แสนครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่ทีมการตลาดของ Samsung นำกลับไปทำอะไรต่อได้อีกมากมาย

ที่มา: The Verge

 
Source: thumbsup

The post นักการตลาดควรรู้อะไรเกี่ยวกับ Samsung Galaxy Note 8? appeared first on thumbsup.

แกะรอย Lazada ก่อนจะมาเป็นเครื่องจักรทำเงินตัวใหม่ให้ Alibaba ในปี 2017

$
0
0

ย้อนไปในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่ Lazada ถือกำเนิดขึ้นโดยทีมงานจาก Rocket Internet GmbH นั้น คงต้องบอกว่าหากซีกโลกตะวันตก มีชื่อของ Amazon เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลัก ทีมงานผู้พัฒนาอย่าง Rocket Internet ก็ตั้งเป้าให้ “Lazada” เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลักแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน

โดยการเปิดให้บริการของ Lazada นั้น เน้นใน 6 ประเทศหลักได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สินค้าหลักคือสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง ความสวยความงาม แฟชั่น ของใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ

แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันสำหรับ Lazada คือการมาถึงที่ “ถูกเวลา”

เพราะหากเทียบกันแล้ว Amazon ใช้เวลาในการสร้างอาณาจักรมากกว่า 10 ปี แต่ Lazada ใช้เวลาเพียง 3 ปีก็ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มด้าน Marketplace ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2013 นั้น Lazada มียอดขายราว 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะกระโดดขึ้นมาในปี 2014 ไปอยู่ที่ยอดขาย 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว

เรื่องนี้ผู้บริหาร Lazada ยกความดีให้การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน และมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักช้อปออนไลน์กว่า 256 ล้านคน ว่ามีส่วนช่วยผลักดัน ประกอบกับการจัดโปรโมชันต่าง ๆ ไปจนถึงการแจกรหัสส่วนลด Lazada ออกมามากมายให้นักช้อปออนไลน์ได้เอาไปใช้งานกัน แต่จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคืองบในการโปรโมตที่ Lazada ใช้ทุกช่องทาง ทุกสื่อ และถือเป็นเว็บแรก ๆ ที่มีการโปรโมตผ่านทางทีวี (ที่ในยุคนั้นค่าโฆษณาทางทีวีก็ไม่ได้ลดแลกแจกแถมเหมือนในยุคนี้)

ในด้านการพัฒนาของตัวเว็บไซต์ ในปี 2013 Lazada ได้เริ่มพัฒนาการเป็นหน้าร้าน (Marketplace Model) อนุญาตให้ผู้ค้ารายอื่น ๆ เข้ามาขายสินค้าของตนเองได้มากขึ้น ซึ่งต่อมาในปี 2014 ก็พบว่ายอดขายจาก Marketplace นั้นคิดเป็น 65% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท

แต่การเติบโตของ Lazada เตะตายักษ์ใหญ่จากแดนมังกรอย่าง Alibaba ของ Jack Ma เข้าอย่างจัง นั่นจึงทำให้เกิดการเจรจาก่อนจะนำมาซึ่งการซื้อกิจการ Lazada เมื่อเดือนเมษายน 2016 โดย Alibaba ได้จ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (เข้าซื้อหุ้นจากการเพิ่มทุน และซื้อหุ้นจากนักลงทุนเดิม) ในการเข้าถือหุ้นใหญ่ของ Lazada และจากการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้มูลค่าบริษัท Lazada ขึ้นไปอยู่ที่ 1,500 ล้านเหรียญ หรือเกือบ 52,600 ล้านบาท

การขยับครั้งใหญ่ของ Alibaba ในครั้งนี้เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ของ Jack Ma หัวเรือใหญ่ของ Alibaba ที่มองว่าธุรกิจของบริษัทยังอิงอยู่กับรายได้จากตลาดจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นบริษัทควรจะมีการขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น และเขาตั้งเป้าหมายให้ Alibaba มีรายได้ครึ่งหนึ่งมาจากตลาดนอกประเทศจีน ซึ่ง Lazada ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นเป้าหมายที่ดีที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของ Alibaba ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้

ผลคือ Jack Ma คาดการณ์ถูกเผง เมื่อผลประกอบการไตรมาสสองของปีนี้ ทาง Alibaba ระบุว่าสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 389 ล้านเหรียญสหรัฐจากตลาดอื่นที่ไม่ใช่ประเทศจีน สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 136% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว

สำนักข่าว TechinAsia ระบุว่าตัวเลขยอดขายจากตลาดนอกประเทศจีนที่ Alibaba ทำได้ในช่วงเมษายน-มิถุนายนปีนี้ถือเป็นสถิติสูงสุดที่บริษัทเคยทำมา จุดนี้ Alibaba ยอมรับว่าการเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้ของ Lazada ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ปัจจุบัน Lazada จึงอยู่ในฐานะ “ผู้ได้ไปต่อ” โดยมีผู้ค้าออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 100,000 ร้านค้า และแบรนด์สินค้ากว่า 2,500 แบรนด์ ให้บริการแก่ผู้บริโภคกว่า 560 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยทุกวันนี้ จำนวนคนเข้าเว็บไซต์ Lazada เฉลี่ยใน 1 ปี มากกว่าจำนวนคนเข้าตลาดนัดจตุจักรถึง 50 เท่า โทรศัพท์มือถือที่ Lazada ขายได้ทั้งหมดคือ 1.4 ล้านเครื่อง ซึ่งถ้านำมาต่อกันจะมีความสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 ถึงสองร้อยตึก ส่วนรถส่งสินค้านั้น ภายใน 1 วันพบว่าวิ่งเป็นระยะทางเฉลี่ย 833,333 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางไป-กลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น้อยเลย

ในสถานการณ์ที่หลาย ๆ คนมองว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลคือทางรอดของคนค้าขาย นี่จึงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่ลงทุนทำจริง และเติบโตได้จริง

บทความนี้เป็น Advertorial

 
Source: thumbsup

The post แกะรอย Lazada ก่อนจะมาเป็นเครื่องจักรทำเงินตัวใหม่ให้ Alibaba ในปี 2017 appeared first on thumbsup.

[ประกาศ] บทบาทของ thumbsup ในวันที่วงการการตลาดและการประชาสัมพันธ์ไทยเปลี่ยนไป

$
0
0

 

สวัสดีครับเพื่อนๆ thumbsupers พวกเรากองบรรณาธิการ thumbsup อยากจะขออนุญาตใช้พื้นที่นี้ในการพูดคุยเรื่องสำคัญ 2 เรื่องนะครับ เรื่องแรกก็คือ ทิศทางเนื้อหาของ thumbsup จากนี้ไป (ซึ่งเราคิดกันมาดีแล้วล่ะครับ เถียงกันมานาน) เรื่องที่ 2 คือเรื่องของ Community Event ที่เราจัดกันอยู่ทุกๆ ปี ปีนี้จะจัดอะไรอย่างไรนั้น Spark Conference และ Digital Matters จะจัดไหม? เมื่อไหร่? เชิญติดตามได้เลยครับ

ทิศทางเนื้อหา thumbsup 2018 “ลึก…จากประสบการณ์จริง”

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว พวกเราเริ่มต้นมาจากความคิดที่ว่าเราจะเน้นการนำเสนอข่าวและบทความด้านธุรกิจ การตลาดดิจิทัลทั้งของไทยและเทศในแบบที่ “ย่อยง่าย” แต่คงไว้ซึ่งความครบถ้วนในเนื้อหากระบวนความของการตลาด อ่านทีเดียวแล้วเข้าใจได้เลยไม่เน้นศัพท์แสงการตลาดมากเกินไป แต่วันเวลาผ่านไปเราก็พบว่าเนื้อหาในส่วนของ นักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจเทคโนโลยีที่เรานำเสนออยู่ในปัจจุบันนั้นเริ่มไม่สอดคล้องกับความต้องการของ Community ของเราแล้ว

จากการสำรวจเราพบว่า ผู้อ่าน thumbsup เป็นกลุ่มนักสื่อสารแบรนด์ที่ทำงานจริงมาแล้วหลายปี หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการดิจิทัลอีกต่อไปแล้ว ผู้อ่านจึงเริ่มต้องการเสพเรื่องที่มีมิติลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน

ยกตัวอย่างง่ายๆ ในปี 2011 ตอนนั้นคำว่า Digital Marketing เป็นสิ่งใหม่ คนยังใช้ Social Media กันไม่คล่องเหมือนสมัยนี้ เทคโนโลยีทางด้าน Advertising ต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยล้ำหน้ามากนัก แต่ตอนนี้แทบจะทุกองค์กร ต่างมีนักการตลาดที่มีความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลประจำองค์กรกันมากขึ้นแล้ว แถมพวกองค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานก็มีคนออกมาสอนกันมากมาย

ต่อไปนี้ บทบาทของ thumbsup จึงไม่ใช่คนที่จะมาบอกว่า เกิดอะไรขึ้นในวงการการตลาดดิจิทัล แต่เราจะเป็นคนที่วิเคราะห์ว่าทำไมเรื่องนั้นจึงเกิดและนักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์จะได้อะไร จะปรับเปลี่ยนอย่างไร ดังนั้นเนื้อหาใน thumbsup จะเป็นมุมมองและความคิดเห็นของนักการตลาด และนักประชาสัมพันธ์ที่ทำงานอยู่ในวงการนี้จริงๆ เรื่องของเราอาจจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ท่ามกลางความซับซ้อนของเนื้อหานั้น เราก็จะตอบคำถามของผู้อ่านให้มากขึ้นบน Social Media ตลอดจนจัดให้มี Community Event บ่อยขึ้น เพื่อนัดพบปะนักการตลาดมาแลกเปลี่ยนมุมมองกันทุกๆ ไตรมาส

เรื่องแรกจบไป… เรื่องที่ 2

ทิศทาง Community Event

ในเรื่องของ Community Event ในปีที่ผ่านมาในฝั่งของ thumbsup เรามี event อยู่ 2 งาน นั่นก็คือ Spark Conference (ขนาดผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 ท่าน) และ Digital Matters (ขนาดผู้เข้าร่วมประมาณ 100-300 ท่าน) เราขอ update ดังนี้ครับ

Spark Conference (งานประจำปีของเรา)

พวกเรามีความคิดที่จะกลับมาจัดงานที่ชื่อว่า Spark Conference อย่างที่ทุกๆ คนก็เคยให้การต้อนรับมันในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (เราเคยจัด Spark Conference ครั้งแรกกันที่โรงหนังสกาล่า ท่ามกลางเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองในปี 2014 / ครั้งที่ 2 เราจัด Spark Conference 2 ในปี 2015 / ครั้งที่ 3  เราจัด Spark Conference 3 ในปี 2016)

แต่… จากที่เราเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงของวงการการตลาดและการประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในบ้านเรา ต้องบอกว่าตอนนี้ในประเทศไทยมี Digital event จัดเพิ่มขึ้นมาเพื่อ “Update trend” กันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะองค์กรไหนก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลก็จะต้องออกมาจัดงานขนาดใหญ่ขนาด 1-2 วันออกมา

พวกเราก็เลยคิดว่าไม่อยากให้ Spark Conference กลายเป็นเพียงแค่ “งานสัมมนาอีกงานหนึ่งทางด้านการตลาดดิจิทัล” เราเลยตัดสินใจว่าจะขอพักการจัดงาน Spark Conference ไปก่อนจนกว่าเราจะคิดกันออกมาได้ว่าเราจะทำให้มันแตกต่างได้อย่างไร โดยเราจะหันมาทุ่มกันการจัดงานที่ชื่อว่า Digital Matters แทน

Digital Matters (งาน Networking ประจำไตรมาสของเรา)

thumbsupers ที่ติดตามพวกเรามานานคงจะจำกันได้ว่าเราจัด Digital Matters ครั้งแรกกันเมื่อปี 2012 โดยเราเปิดตัว event “Digital Matters” จุดนัดพบใหม่ของ Digital Marketer ไทย มีเพื่อนๆ มาร่วมงานกันราวๆ 50 คน จากนั้นมันก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ 100 คน 150 คน จนบาง event มีเพื่อนๆ มาร่วมงานแน่นสถานที่ถึง 300 คน

นี่คือประวัติของงานครับ

สรุปนะครับ ต่อไปนี้ thumbsup จะกลับมาด้วย Digital Matters ในรูปแบบ Networking กึ่งเสวนา ทุกๆ ไตรมาส

โดยครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 9 ในวันที่ 14 กันยายน 2560 นี้ เวลา 18.30 – 22.00 สถานที่คือ Link Collaboration Space (สถานที่ Collaboration Space แห่งใหม่ทางด้าน Digital Marketing)ในหัวข้อ “คิดแบบ Content Publisher เขาคิดกันอย่างไร?” ที่มาของแนวคิดคราวนี้คือ ตอนนี้นักการตลาด และนักประชาสัมพันธ์ไทยน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่า Content Marketing คืออะไร แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือผลงาน Content Marketing ที่ออกมายัง “ไปได้ไม่สุด”

พวกเราจึงมีแนวคิดว่า การที่จะทำ Content Marketing ที่ดีได้ คนทำก็ต้องมีวิธีคิดแบบ Publisher ว่าแต่วิธีคิดแบบ Publisher นั้นทำอย่างไร? งานเสวนาคราวนี้น่าจะมีคำตอบให้กับ thumbsupers ตามสมควรครับ

บนเวทีเสวนาของเราครั้งนี้จะประกอบไปด้วยแขกรับเชิญ ขจร เจียรนัยพานิชย์ หรือ @Khajochi แห่ง MangoZero, เคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ แห่ง The Standard ควบคุมบทสนทนาโดย @CharathBank จากนั้นก็จะเป็น Networking ของพวกเรา

เราจะประกาศเกี่ยวกับ Digital Matters ครั้งที่ 9 นี้อย่างเป็นทางการในวันนี้อีกครั้ง

แล้วพบกันนะครับ

 
Source: thumbsup

The post [ประกาศ] บทบาทของ thumbsup ในวันที่วงการการตลาดและการประชาสัมพันธ์ไทยเปลี่ยนไป appeared first on thumbsup.

Viewing all 2243 articles
Browse latest View live